การบริหารความเสี่ยงเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดที่คุณควรฝึกฝนให้เชี่ยวชาญหากคุณมีเป้าหมายที่จะทำให้พอร์ทของคุณโต เพราะแม้แต่เทรดเดอร์ที่มีพรสวรรค์ที่สุดก็ไม่อาจประสบความสำเร็จได้ถ้าหากขาดทักษะการบริหารความเสี่ยงที่ดี

คุณอาจเริ่มต้นการซื้อขายได้ถูกจังหวะพร้อมทำกำไรจากหุ้นหรือ Forex ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่มีแผนการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม การซื้อขายที่ผิดพลาดแค่ครั้งเดียวก็อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อพอร์ทของคุณในภาพรวมได้

บทความโดยสรุป:

  • กลยุทธ์และเทคนิคการบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ช่วยจำกัดการขาดทุนให้คุณ โดยเฉพาะเมื่อคุณซื้อขายโดยใช้มาร์จิน
  • Stop loss, take profit และการควบคุมขนาดของโพสิชันที่ใช้ในการซื้อขายให้เหมาะสม เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารความเสี่ยงที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง 
  • การคำนวนผลกำไรที่คาดหวังในการซื้อขายช่วยให้คุณสามารถกำหนดจุดเข้าและจุดออกที่เหมาะสมได้
  • กลยุุทธ์ที่นิยมใช้เพื่อจำกัดความเสี่ยง เช่น การกระจายความเสี่ยง และการ hedging

อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนของคุณยังสามารถช่วยให้คุณสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว

รู้จักกับการบริหารความเสี่ยงในการซื้อขาย?

ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงสำหรับการซื้อขายถูกออกแบบขึ้นเพื่อควบคุมการขาดทุนในการซื้อขาย และช่วยให้บัญชีซื้อขายของคุณอยู่รอดสำหรับการซื้อขายในวันต่อๆไป การบริหารความเสี่ยงที่ดีจะช่วยลดความเสียหายของพอร์ทโดยรวม รวมถึงช่วยตัดอารมณ์ออกจากการตัดสินใจซื้อขาย 

เทรดเดอร์สามารถที่จะสินใจผิดพลาด และถือสถานะที่ขาดทุนไว้นานเกินกว่าที่ควรเพื่อหวังว่าราคาสินทรัพย์จะกลับมาสู่จุดที่หวังไว้ อย่าลืมว่าการทำแบบนั้นมีโอกาสที่จะทำให้การขาดทุนหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้น หรือแม้แต่อาจกลับมาเท่าทุน หรือกำไรได้เช่นกัน 

การบริหารความเสี่ยงมักเป็นปัจจัยลำดับท้ายๆที่เทรดเดอร์มือใหม่จะคิดถึงเมื่อทำการซื้อขาย แต่ถ้าหากปราศจากการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมถึง risk and reward ratio ที่ดีพอ การจะสามารถอยู่รอดและทำกำไรได้ในระยะยาวนั้นเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ทำไมการบริหารความเสี่ยงถึงสำคัญต่อการซื้อขาย?

เทรดเดอร์ที่ชอบซื้อขายแบบจบภายในวันมักจะชอบใช้เลเวอเรจในการซื้อขาย โดยเลเวอเรจช่วยให้เทรดเดอร์ทำกำไรได้มากขึ้นเป็นทวีคูณ ตัวอย่างเช่น ใช้เลเวอเรจ 5x หมายความว่าคุณสามารถซื้อขายหรือเปิดสถานะที่ใหญ่ขึ้น 5 เท่า บนสินทรัพย์ที่คุณต้องการโดยใช้จำนวนเงินเท่าเดิม

ถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะฟังดูน่าดึงดูด แต่เลเวอเรจก็มาพร้อมกับความเสี่ยงมหาศาล คุณสามารถทำกำไรได้มากขึ้น 5 เท่า แต่คุณก็สามารถขาดทุนได้สูงขึ้น 5 เท่าเช่นกัน  

แม้แต่เทรดเดอร์ที่เก่งที่สุดก็ยังต้องพบกับช่วงเวลาเหล่านี้:

  • คุณเจอกับการซื้อขายที่ขาดทุนติดๆกันหลายครั้ง
  • คุุณเจอกับการขาดทุนครั้งใหญ่เมื่อราคากระโดดข้ามจุด stop loss ของคุณ
  • กลยุทธการซื้อขายที่เคยทำกำไรได้ดีกลับทำให้คุณขาดทุนติดกันหลายครั้ง

ถ้าหากคุณไม่ได้มีกลยุทธการบริหารความเสี่ยงที่ดี ทุกสิ่งข้างต้นสามารถส่งผลร้ายกับพอร์ทของคุณ ทั้ง:

  • สูญเสียเงินลงคุณทั้งหมดของคุณ
  • ประสบกับการขาดทุนครั้งใหญ่
  • ถูกบังคับให้ต้องปิดสถานะในจุดที่คุณไม่ต้องการเนื่องจากมีเงินหลักประกันในบัญชีไม่เพียงพอ 

เมื่อคุณต้องวางเดิมพันโดยใช้เงินที่คุณหามาได้อย่างยากลำบาก บางครั้งอารมณ์ของคุณจะบดบังเหตุผลและทำให้คุณตัดสินใจได้แย่ลง ซึ่งการตัดสินใจแย่ๆในตลาดอาจส่งผลให้คุณประสบปัญหาทางการเงินครั้งใหญ่

วิธีบริหารจัดการความเสี่ยง

ขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยงในการซื้อขายคือการวางแผนทุกครั้งก่อนเข้าซื้อขาย เรามีคำกล่าวที่ว่า "วางแผนการซื้อขายและซื้อขายตามแผน" ถ้าคุณไม่ได้วางแผนล่วงหน้าก็เหมือนกับคุณเดินเข้าตลาดที่บ้าคลั่งโดยปล่อยให้อารมณ์นำทาง และด้วยการที่ไม่มีจุดออกที่เหมาะสม เท่ากับคุณปล่อยให้ความเสียหายลุกลามจนอยู่เหนือการควบคุม

ในการวางแผนให้รัดกุม เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาถึงเทคนิคการจัดการความเสี่ยงในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการหาความรู้ทางการลงทุน

เครื่องมือสำหรับบริหารความเสี่ยง

เครื่องมือ 2 เครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงที่นิยมใช้กัน ได้แก่การใช้คำสั่ง stop loss และ take profit

  • Stop loss: หรือการตัดขาดทุน คือคำสั่งที่ให้โบรกเกอร์ปิดสถานะของคุณแล้วหนีออกมาเมื่อการขาดทุนมาถึงจุดที่กำหนดไว้ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยควบคุมความเสียหายเมื่อตลาดไม่เป็นไปตามที่คุณคาดไว้  
  • Take profit: หรือการทำกำไร คือการที่คุณส่งคำสั่งให้ปิดสถานะของคุณเมื่อตลาดเคลื่นไหวมาถึงจุดที่กำหนด และคุณได้กำไรตามที่คาดการณ์ไว้แล้ว ซึ่งคำสั่งนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนตัวมาถึงจุดที่คุณคาดหวังแล้ว แต่บางครั้งเทรดเดอร์ก็ยังไม่ปิดสถานะเพื่อทำกำไรตามแผนเพราะหวังว่าราคาจะยังปรับตัวในทิศทางที่คาดหวังต่อไป ซึ่งการทำแบบนี้อาจส่งผลให้การซื้อขายที่กำไรอาจวกกลับมาเป็นขาดทุนได้  
  • การควบคุมขนาดโพสิชัน: การควบคุมขนาดโพสิชันให้เหมาะสมคือการที่เทรดเดอร์เลือกซื้อขายสินทรัพย์ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มาก หรือไม่น้อยจนเกินไป ซึ่งการกำหนดขนาดโพสิชันจะคิดจากจำนวนเงินทุนทั้งหมดที่คุณมี และความเสียหายที่คุณยอมรับได้

หลักการคำนวนแบบง่ายๆ เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จมักจะไม่ยอมให้เกิดความเสียหายเกินกว่า 1-2% ของเงินทุนทั้งหมดต่อการซื้อขาย 1 ครั้ง คำสั่ง Stop loss และ take profit สามารถใช้เพื่อกำหนดขนาดของโพสิชันและจุดเข้า-ออก ได้

Stop loss, take profit และการกำหนดขนาดโพสิชันเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการประสบความสำเร็จในระยะยาว

การคำนวนความเสี่ยง

การคำนวนผลตอบแทนจากการซื้อขาย ช่วยให้เทรดเดอร์กำหนดแผนการซื้อขายเพื่อทำกำไรสูงสุด โดยจะคำนวนจากผลตอบแทนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ต่างๆ 

ผลตอบแทนที่คาดหวัง = (ผลตอบแทนที่คาดหวังหากเกิตเหตุการณ์ 1 x ความน่าจะเป็น) + (ผลตอบแทนที่คาดหวังหากเกิตเหตุการณ์ 1 x ความน่าจะเป็น) + …

ความน่าจะเป็นของผลตอบแทนที่คาดหวัง (ทั้งกำไรและขาดทุน) สามารถประมาณได้โดยใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคกับกราฟราคาในอดีต ในขณะเดียวกัน เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์สูงๆสามารถใช้การประเมินตลาดในการกำหนดความน่าจะเป็นของตนเองได้

กลยุทธ์การควบคุมความเสี่ยง

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่นิยมใช้กันมากที่สุด 2 กลยุทธ์ ได้แก่ การกระจายความเสี่ยง และการ hedging

  • การกระจายความเสี่ยง: เทรดเดอร์หลายคนมีการกระจายความเสี่ยงในประเภทของสินค้าที่ตนซื้อขาย แต่ยังมีการกระจายความเสี่ยงอีกประเภทที่ควรพิจารณา ได้แก่ การกระจายความเสี่ยงผ่านเครื่องมือที่หลากหลาย เทรดเดอร์สามารถกระจายความเสี่ยงโดยซื้อขายในหลากหลายอุตสาหกรรม, ซื้อขายทั้งในตลาดขนาดใหญ่และเล็ก รวมถึงซื้อขายสินทรัพย์ในหลากหลายภูมิภาคโดยแนวคิดเบื้องหลังการกระจายความเสี่ยงคือกำไรจากสินทรัพย์ที่หลากหลาย จะสามารถหักลบกลบหนี้หากสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเกิดการขาดทุนได้
  • Hedging: เทรดเดอร์บางคนชอบที่จะ hedge สถานะของตัวเอง ซึ่งการ hedge หมายถึงการที่เทรดเดอร์เปิดสถานะในสินทรัพย์ตัวอื่นๆ ที่ปกติแล้วมักจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับสินทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ ถึงแม้ว่าการ hedge จะช่วยลดความเสี่ยง แต่ก็เป็นการจำกัดผลตอบแทนด้วยเช่นกัน ซึ่งตราสาร CFD เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้เพื่อการ hedge เพราะสามารถเล่น Short ได้อย่างยืดหยุ่นและง่ายดาย

รู้จักกับ risk to reward ratio

risk to reward ratio หรืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง เป็นสิ่งที่ใช้กำหนดขนาดของผลกำไรที่คาดหวัง โดยอิงจากความเสี่ยงที่ได้รับ ในการจะทำความเข้าใจ risk to reward ratio คุณจะต้องเข้าใจกลไกของความเสี่ยงและผลตอบแทนในการซื้อขายซะก่อน

ความเสี่ยง คือจำนวนการขาดทุนที่สามารถจะเกิดขึ้นได้จากทุกๆโพสิชันที่คุณถือ ซึ่งปกติแล้วจะถูกกำหนดโดยใช้จุด stop loss ที่คุณวางไว้ ส่วนผลตอบแทน คือเป้าหมายกำไรที่คุณคาดว่าจะได้รับจากการเปิดสถานะหรือซื้อสินทรัพย์ใดๆ เช่น จุดออกที่คุณวางแผนจะปิดสถานะออกเพื่อทำกำไร

ในการคำนวน risk to reward ratio คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเอาตัวเลขการขาดทุนสูงสุด มาหารด้วยผลกำไรที่คาดหวัง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อ Forex และมีเป้าหมายการทำกำไรที่ 10 จุด และมี stop loss ที่ 5 จุด risk to reward ratio ของคุณคือ 2 เท่า (1:2) นั่นหมายความว่าในทุกๆ ความเสี่ยงที่คุณได้รับ คุณจะคาดหวังผลกำไรที่ 2 เท่าเสมอ

กฎง่ายๆสำหรับ risk to reward ratio ก็คือ คุณจะต้องไม่ยอมให้ความเสี่ยงมีค่ามากกว่าผลตอบแทนเด็ดขาด ถ้าหากความเสี่ยงมีค่ามากกว่าผลตอบแทนและคุณซื้อขายโดยใช้เลเวอเรจ นั่นหมายถึงคุณมีโอกาสที่จะขาดทุนก้อนโต ซึ่งกลยุทธแย่ๆแบบนี้จะทำลายพอร์ทของคุณได้ในระยะยาว

สำหรับมือใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการใช้กลยุทธที่มี risk-reward ratio อย่างน้อย 1:3 หรือแม้แต่ 1:4 เพื่อปกป้องเงินในบัญชีซื้อขายของคุณ โดยเฉพาะมือใหม่ที่มักจะประสบกับการซื้อขายที่ขาดทุนบ่อยกว่ากำไร

เมื่อคุณมีประสบการณ์มากขึ้น คุณอาจเพิ่มสัดส่วน risk to reward ratio มาเป็น 1:2 หรือแม้แต่ 1:1 โดยกลยุทธ์ที่ให้ risk to reward ratio ที่ 1:1 นั้นอาจเหมาะกับเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จในการซื้อขายมาแล้วอย่างน้อยในระยะกลางถึงระยะยาว เพราะเทรดเดอร์จะต้องซื้อขายให้ชนะ 50% ขึ้นไป ถึงจะสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว

การบริหารความเสี่ยงเมื่อใช้มาร์จิน

ด้วยการใช้มาร์จิน คุณสามารถเพิ่มผลกำไรจากการซื้อขายได้มากขึ้นหลายเท่า เทียบกับการซื้อขายโดยใช้เงินของคุณเพียงอย่างเดียว ถ้าคุณวางแผนจะใช้มาร์จินหรือเลเวอเรจ อย่าลืมใช้การบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมเพื่อรับมือกับผลกำไรหรือขาดทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

นั่นหมายความว่าคุณจะต้องวางจุด stop loss ของคุณให้เข้มงวดมากขึ้นเพื่อรักษาสัดส่วน risk to reward ratio ของคุณ

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณฝากเงิน 100USD และทำการซื้อขายโดยใช้กลยุทธที่มี risk and reward ratio ที่ 1:1 การขาดทุนสูงสุดที่เกิดขึ้นได้ก็คือ 100USD ถ้าโบรกเกอร์ของคุณให้เลเวอเรจที่ 20x เท่ากับคุณซื้อขายโดยใช้ขนาดโพสิชันเท่ากับ 2000USD ซึ่งในกรณีนี้ จุด stop loss ของคุณจะต้องรัดกุมขึ้น 20 เท่า เพื่อปกป้องไม่ให้การขาดทุนของคุณลุกลามไปกว่านี้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง

อะไรคือทฤษฎีการบริหารพอร์ทโฟลิโอสมัยใหม่?

แนวคิดของการบริหารพอร์ทโฟลิโอสมัยใหม่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Harry Markowitz ในปี 1950 โดย Markowitz ตั้งสมมุติฐานว่านักลงทุนจะมองหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดต่อระดับความเสี่ยงที่ตัวเองแบกรับไว้ โดยความเสี่ยงของพอร์ทโฟลิโอจะคำนวนโดยใช้เครื่องมือ standard deviation ซึ่งทฤษฎีนี้จะช่วยให้หาจุดที่มีความเสี่ยงต่อผลตอบแทนลงตัวที่สุด แทนที่จะมองหาการลุนทุนที่ความเสี่ยงสูงขึ้นมาก แต่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

อะไรคือกฎ 1% ในการซื้อขาย?

เทรดเดอร์ที่ชอบซื้อขายแบบจบภายในวันมักจะยึดกฎ 1% เป็นหลัก โดยแนวคิดเบื้องหลังกฎนี้คือคุณไม่ควรจะขาดทุนเกินกว่า 1% ของขนาดพอร์ทโฟลิโอรวมทั้งหมดต่อ 1 การซื้อขาย เพราะแม้แต่เทรดเดอร์ที่เก่งที่สุดในโลกก็ไม่สามารถทำกำไรได้ทุกวัน ซึ่งการใช้กฎ 1% ทำให้เทรดเดอร์ต้องขาดทุนถึง 100 ครั้งติดต่อกัน ถึงจะสูญเสียเงินจนหมดบัญชีได้ แม้ว่าคุณจะกำหนดการขาดทุนสูงสุดต่อครั้งไว้ที่ 1% แต่นั่นไม่ได้จำกัดการทำกำไรต่อ 1 การซื้อขาย แค่เป็นการวางหลักประกันสำหรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเท่านั้น  

สามารถประยุกต์ใช้คำสั่ง stop loss และ take profit ในโปรแกรม MetaTrader ได้หรือไม่?

MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เป็นแพลตฟอร์มที่ลูกค้า INFINOX สามารถใช้งานได้ โดยทั้ง 2 แพลตฟอร์มมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถส่งคำสั่งแบบอัตโนมัติ รวมถึงคำสั่ง stop loss และ take profit ได้

ทำไมบางครั้งถึงเกิดเหตการณ์ slippage effect กับคำสั่ง stop loss ได้?

ในบางครั้ง มีโอกาสที่คำสั่ง Stop loss จะถูกส่งออกไปในราคาที่แย่กว่าราคาที่คุณตั้งไว้ในตอนแรก ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่า slippage effect ที่หมายถึงความแตกต่างของราคา stop loss ที่คุณตั้งไว้ กับราคาที่คุณปิดสถาะนะได้จริงๆ

Slippage หมายถึงการที่ราคากระโดดข้ามจุดที่คุณวาง stop loss ลงไปดื้อๆ ทำให้คุณปิดสถานะได้ในราคาที่ตำกว่าจุด stop loss ที่คุณตั้งไว้ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดเรื่องแบบนี้อาจเป็นข่าวใหญ่หรือเหตการณ์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความผันผวนของสินทรัพย์ที่คุณถืออยู่ ทำให้ราคามีการเปิดกระโดดขึ้นหรือลงจากวันก่อนหน้า

นอกจากนั้นยังมีอีกกรณีคือในตลาดมีสภาพคล่องไม่พอให้คุณปิดสถานะได้ทั้งหมดในจุด stop loss ที่คุณตั้งไว้ โดยโบรกเกอร์บางแห่งอาจมีการรับประกันจุด stop loss ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถปิดสถานะได้ทั้งหมดในราคา stop loss ที่คุณตั้งไว้

 

*บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น