Euro, GBP และ Bitcoin ยังคง balance อยู่ใน range ของตัวเองต่อไป โดย buyers active ที่ balance low และ sellers active ที่ balance high
Today’s news
🇯🇵 ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว: นิกเกอิปิดเช้าบวก 65.22 จุด เยนอ่อนหนุนหุ้นส่งออก: ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดเช้าบวกในวันนี้ โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มส่งออก เนื่องจากเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบสกุลเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ตลาดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิปิดภาคเช้าที่ 28,241.09 จุด เพิ่มขึ้น 65.22 จุด หรือ +0.23%
หุ้นที่ปรับตัวขึ้นในช่วงเช้านี้นำโดยหุ้นกลุ่มเหมืองแร่, กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันและถ่านหิน และกลุ่มเภสัชกรรม
🌏 ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ นักลงทุนวิตกเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย: ตลาดหุ้นเอเชียเปิดปรับตัวลงในวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากตัวเลขจ้างงานของสหรัฐพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนก.ค.
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 28,050.09 จุด ลดลง 125.78 จุด หรือ -0.44%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 20,065.35 จุด ลดลง 136.59 จุด หรือ -0.68% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,218.85 จุด ลดลง 8.18 จุด หรือ -0.25%
🇺🇸 ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก (หลังปิดตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา): ดาวโจนส์ปิดบวก 76.65 จุด หุ้นแบงก์พุ่งตามแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น: ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (5 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวขึ้นขานรับแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง โดยถูกกดดันจากหุ้นเทสลาและหุ้นเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ปรับตัวลง หลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐทำให้นักลงทุนวิตกว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อที่ระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,803.47 จุด เพิ่มขึ้น 76.65 จุด หรือ +0.23%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,145.19 จุด ลดลง 6.75 จุด หรือ -0.16% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,657.56 จุด ลดลง 63.02 จุด หรือ -0.50%
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 0.1% ขณะที่ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 0.4% และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 2.2%
🏴 ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน (หลังปิดตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา): ฟุตซี่ปิดลบ 8.32 จุด วิตกเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยหลังข้อมูลจ้างงานพุ่ง: ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันศุกร์ (5 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.ค.
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,439.74 จุด ลดลง 8.32 จุด หรือ -0.11%
นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดัน หลังหุ้นดับเบิลยูพีพี (WPP) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทโฆษณารายใหญ่ที่สุดของโลก ร่วงลง 8.8% เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังกับการเปิดเผยแนวโน้มยอดขายรายปีของบริษัท
อย่างไรก็ตาม ดัชนี FTSE 100 ยังคงปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์นี้ โดยได้แรงหนุนจากเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลง หลังธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เตือนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะยาว ขณะที่ BoE ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากที่สุดในรอบ 27 ปีในวันพฤหัสบดี (4 ส.ค.)
🇪🇺 ภาวะตลาดหุ้นยุโรป (หลังปิดตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา): หุ้นยุโรปปิดลบ วิตกเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยหลังข้อมูลจ้างงานแกร่ง: ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันศุกร์ (5 ส.ค.) หลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐทำให้เกิดความวิตกว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% ในเดือนหน้า นอกจากนี้ ความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ซบเซาของยุโรปถ่วงตลาดลงด้วย
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 435.72 จุด ลดลง 3.34 จุด หรือ -0.76% และปรับตัวลง 0.6% ในรอบสัปดาห์นี้
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,472.35 จุด ลดลง 41.04 จุด หรือ -0.63%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,573.93 จุด ลดลง88.75 จุด หรือ -0.65% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,439.74 จุด ลดลง 8.32 จุด หรือ -0.11%
🇺🇸 ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก (หลังปิดตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา): ดอลลาร์แข็งค่า ขานรับข้อมูลจ้างงานแกร่ง-คาดเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย: ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (5 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน พุ่งขึ้น 0.88% แตะที่ระดับ 106.6190
🥇 ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก (หลังปิดตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา): ทองปิดลบ $15.7 บอนด์ยีลด์เพิ่ม-ดอลลาร์แข็งค่ากดดันราคา: สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (5 ส.ค.) โดยถูกกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้น หลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐในเดือนก.ค.
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 15.7 ดอลลาร์ หรือ 0.87% ปิดที่ 1,791.2 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่สัญญาทองคำปรับตัวขึ้น 0.5% ในรอบสัปดาห์นี้
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 28 เซนต์ หรือ 1.39% ปิดที่ 19.842 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 20 เซนต์ หรือ 0.02% ปิดที่ 924.7 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 51.20 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 2,128.70 ดอลลาร์/ออนซ์
⛽️ ภาวะตลาดน้ำมันน้ำมัน WTI ปิดบวก 47 เซนต์ ขานรับตัวเลขจ้างงานสหรัฐแข็งแกร่ง: สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ (5 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาด แต่ราคาสัญญาน้ำมันดิบยังคงร่วงลงอย่างรุนแรงในรอบสัปดาห์นี้ ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 47 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 89.01 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 80 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 94.92 ดอลลาร์/บาร์เรล
แต่ในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 9.7% และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ร่วงลง 8.7%
Economic Calendar:
- No Major Econ Reports (เวลา GMT+7).
MAJOR Markets Outlook
- Gold ในวันศุกร์ที่ 05/08 ไม่มี trade setup ที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าเราจะเห็น failed breakdown pattern แล้วก็ตาม เพราะราคาไม่ได้ pull back กลับขึ้นมาให้โอกาสเรา short เลย ซึ่งถ้าราคาไม่ pull back เราจะเข้าเทรดกลาง balancing range ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง
- สำหรับวันนี้ตลาดเปลี่ยน OTFU on Daily กลับมาสู่ balance phase โดยความเข้าใจที่ว่าเราอาจเทรดอยู่ใน failed breakout pattern (bearish) sellers สามารถกลับเข้ามา active ได้ทุกเรื่อง ตราบใดที่ราคายังลงไปไม่ถึง target คือ balance low
- <--Balance Rules Apply!-->
- กฏโดยพื้นฐานคือ เทรดไปตามทิศทางที่ตลาด Break Out
- Monitor for continuation (Acceptance) or Lack of.
- Lack of continuation (Failed breakout / Look above/below and fail)
- - ต้องหา Fade Setup (เทรดสวน) target คือ ขอบของ balancing area ในฝั่งตรงข้าม
- EUR/USD ในวันศุกร์ที่ 05/08 ไม่มี trade setup ที่เหมาะสม เพราะก่อน NFP report และ Unemployment report ออก ตลาด balance อยู่ในกรอบที่แคบเกิน และหลังจากที่ report ออก ราคาก็ลงไปไม่ถึง good trade location สำหรับ sellers ในขณะเดียวก็ ไม่ได้ pull-back กลับขึ้นมาให้ short เช่นเดียว
- สำหรับวันนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า Euro ยังติดอยู่ใน 14 day balance และ realtime ตลาดมาเทรดอยู่ตรงกลาง range พอดี
- ซึ่งอย่างที่เคยบอกไว้แล้วว่า เมื่อตลาดติดอยู่ใน balance และราคาอยู่ที่กลาง range จะเป็นพื้นที่อันตรายไม่ควรเข้าเทรดตรงกลาง range เพราะ good trade location คือ balance high/low
- <--Balance Rules Apply!-->
- กฏโดยพื้นฐานคือ เทรดไปตามทิศทางที่ตลาด Break Out
- Monitor for continuation (Acceptance) or Lack of.
- Lack of continuation (Failed breakout / Look above/below and fail)
- - ต้องหา Fade Setup (เทรดสวน) target คือ ขอบของ balancing area ในฝั่งตรงข้าม
- GBP/USD Trade setup ของวันศุกร์มีแค่ 1 trade setup คือ
- - หลังข่าวสำคัญออก ราคาลงไปสู่ balance low พยายามที่จะ breakdown ออกจาก balance แต่หมดแรง โอกาสคือการเทรด long-side ที่ balance low กลับมาสูกลาง balancing range
- สำหรับวันนี้ ตลาดเซ็ตที่จะเปิดบริเวณ balance low เพราะฉะนั้นตราบใดที่ราคาไม่สามารถ breakdown ลงไปได้ที่ balance low จะยังเป็น good trade location สำหรับ sellers
- แต่ถ้า GBP break & hold ใต้ Initial Support (balance low) นั่นจะทำให้ Daily เปลี่ยนจาก balance ไปเป็น OTFD และ short-term bias จะเป็น bearish
- ซึ่งถ้า breakdown ได้สำหรับ จุดหมายต่อไปของ sellers คือการ จบ Weekly one time framing up ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ ๆ แค่ 20029 เท่านั้น
- <--Balance Rules Apply!-->
- กฏโดยพื้นฐานคือ เทรดไปตามทิศทางที่ตลาด Break Out
- Monitor for continuation (Acceptance) or Lack of.
- Lack of continuation (Failed breakout / Look above/below and fail)
- - ต้องหา Fade Setup (เทรดสวน) target คือ ขอบของ balancing area ในฝั่งตรงข้าม
Cryptocurrency:
- BTC/USD Bitcoin ยังคงติดอยู่ใน balancing area ระหว่าง Resistance Zone 23462-23650 และ Support Zone 22392-22544 แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดจะ balancing ตลอดไปไม่ได้ ขอให้รอจังหวะในการ breakout หรือ breakdown ออกจาก balancing area แล้วเทรดตามฝั่งที่มัน break ออกไปคือสิ่งที่ควรทำที่สุด
Direction Bias & Key Reference Areas
*บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น