บทนำ
เมื่อเข้าใกล้ช่วงปลายเดือนก็มักจะมีเรื่องราวให้เราต้องติดตาม เริ่มต้นกันที่ฝั่งสหรัฐ ที่ถึงแม้วันจันทร์นี้จะเป็นวันหยุดราชการเนื่องในวันประธานาธิบดี แต่ในวันที่เหลือของสัปดาห์จะมีการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแน่น ทั้งตัวเลข Flash PMIs, Michigan Sentiment รวมถึงตัวเลขการเติบโตของ GDP Q4 นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางเศรษฐกิจระดับ Tier 1 นั่นคือดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และตัวเลข core PCE ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fed ค่อนข้างให้ความสำคัญ นอกเหนือจากฝั่งสหรัฐแล้ว เราควรจับตาธนาคารกลางของนิวซีแลนด์ว่าจะมีสัญญาณการใช้นโยบายการเงินที่แข็งกร้าวมากขึ้นหรือไม่ รวมไปถึงการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางโคลอมเบีย โดยนี่เป็นอีกครั้งที่เงินเฟ้อกลายเป็นประเด็นใหญ่สำหรับภูมิภาคละตินอเมริกา
ปัจจัยที่ควรจับตาในภูมิภาคต่างๆ:
- อเมริกาเหนือ – US flash PMIs, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค, Prelim GDP และ core PCE
- ยุโรปและเอเชีย – German Ifo, ตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซน และนโยบายการเงินของธนาคารกลางนิวซีแลนด์
- ละตินอเมริกา – การประกาศตัวเลขเงินเฟ้อกลางเดือนของบราซิลและเม็กซิโก, การประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยของโคลอมเบีย
ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ:
- US Flash PMIs (วันอังคารที่ 22 ก.พ., 1445GMT) ตัวเลข Flash PMI ภาคการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 55.0 (จาก 55.5 ในเดือนมกราคม) ส่วนตัวเลข PMI ของภาคบริการคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52.0 (จากเดิม 51.2) ซึ่งจะทำให้ตัวเลขคาดการณ์ Flash PMI ในภาพรวมปรับตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 51.9 (จากเดิม 51.1)
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (วันอังคารที่ 22 ก.พ., 1500GMT) คาดว่าความเชื่อมั่นในเดือนกุมภาพันธ์จะลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 110.0 (จากเดิม 113.8 ในเดือนมกราคม)
- Richmond Fed Manufacturing (วันอังคารที่ 22 ก.พ., 5000GMT) คาดว่าตัวเลขจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ +10 ในเดือนกุมภาพันธ์ (จากเดิม +8 ในเดือนที่แล้ว)
- GDP – Q4 Prelim ของสหรัฐ (วันพฤหัสที่ 24 ก.พ., 1330GMT) คาดว่าตัวเลข GDP Q4 จะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ +7.0% ในการประเมินครั้งล่าสุด (เพิ่มขึ้นจาก +6.9%)
- ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐ (วันพฤหัสที่ 24 ก.พ., 1500GMT) คาดว่ายอดขายบ้านใหม่จะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 807,000 (จากเดิม 811,000 ในเดือนธันวาคม)
- US Core Personal Consumption Expenditure (วันศุกร์ที่ 25 ก.พ., 1330GMT) ตัวเลข Core PCE ในเดือนมกราคมคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ +5.0% (จากเดิม +4.9% ในเดือนธันวาคม)
- คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ (วันศุกร์ที่ 25 ก.พ., 1330GMT) คาดว่าตัวเลข Core durables (ex-transport) จะเติบโตขึ้น +0.4% ในเดือนมกราคม (จากเดิม +0.4% ในเดือนธันวาคม)
- Michigan Sentiment - revised (วันศุกร์ที่ 25 ก.พ., 1500GMT) คาดว่าตัวเลขจะไม่เปลี่ยนแปลงที่ 61.7 (จากข้อมูลเบื้องต้นของเดือนกุมภาพันธ์ที่ 61.7, และ 67.2 ในเดือนมกราคม)
- ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย (วันศุกร์ที่ 25 ก.พ., 1500GMT) คาดว่ายอดขายระร่วงลงมาอยู่ที่ -8.0% year on year ในเดือนมกราคม (จากเดิม -6.9% ในเดือนธันวาคม)
ตัวเลข Flash PMIs เป็นข้อมูลช่วยให้เราเห็นภาพความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจในอนาคต โดยคาดการณ์ว่าตัวเลขของภาคการผลิตจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ภาคบริการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนี PMI ในภาพรวมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 52.0 และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นเล็กน้อย ในระหว่าง Q1 ในขณะที่ข้อมูลจากฝั่งผู้บริโภคที่เป็นอีกไฮไลท์สำคัญของสัปดาห์นี้มีแนวโน้มที่ไม่ค่อยดีนัก โดยคาดว่าตัวเลขจะปรับลดลงมาอยู่ที่ 110.1 (ระดับเดียวกับในเดือนกันยายน) ในขณะที่ Michigan Sentiment คาดว่าจะยืนยันการปรับตัวลดลงจากการคาดการณ์ครั้งแรกมาอยู่ที่ 61.7
GDP – Q4 Prelim ของสหรัฐ คาดว่าจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 7.0% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประเมินครั้งก่อนที่อยู่ที่ 6.9% นอกจากนี้รายงานตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ ได้แก่ตัวเลข core PCE ก็เป็นข้อมูลที่น่าจับตามอง โดยคาดการณ์กันว่าตัวเล็กจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.0% ซึ่งถ้าหากตัวเลขจริงๆ ออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็อาจทำให้ตลาดมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงได้
การตอบสนองของตลาด:
- สัปดาห์นี้เต็มไปด้วยการประกาศข้อมูลที่ส่งผลต่อค่าเงิน USD ซึ่งถ้าหากตัวเลขของ flash PMIs หรือความเชื่อมั่นผู้บริโภคออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้จะเป็นผลบวกกับ USD อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่น่าจับตามองมากที่สุดก็คือ PCE ซึ่ง Fed ให้น้ำหนักกับข้อมูลนี้มาก และถ้าตัวเลข PCE ออกมาดีกว่าที่คาดจะส่งผลบวกอย่างมากต่อ USD
ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย:
- German Ifo Business Climate (วันอังคารที่ 22 ก.พ., 0900GMT) ตัวเลข Business Climate คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 96.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ (จากเดิม 95.7 ในเดือนมกราคม)
- การประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (วันพุธที่ 23 ก.พ., 0100GMT) คาดว่าธนาคารกลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกบี้ย +25 basis point ขึ้นมาอยู่ที่ +1.00% (จากเดิม +0.75%)
- ตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน – revised (วันพุธที่ 23 ก.พ., 1000GMT) คาดว่าตัวเลข headline inflation จะยังไม่เปลี่ยนแปลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้าที่ 5.3% และ core inflation อยู่ที่ 2.3% (จากเดิม 5.0% และ 2.3% ในเดือนธันวาคม)
- ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซน (วันศุกร์ที่ 25 ก.พ., 1000GMT)
- ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน (วันศุกร์ที่ 25 ก.พ., 1000GMT)
- ความเชื่อมั่นภาคบริการของยูโรโซน (วันศุกร์ที่ 25 ก.พ., 1000GMT) คาดว่าตัวเลขจะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ +11.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ (จากเดิม +9.1% ในเดือนมกราคม)
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ จากตัวเลขการว่างงานที่ลดต่ำลงมาอยู่ที่ 3.2% (ต่ำที่สุดในรอบหลายปี) และตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.9 ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยที่กดดันธนาคารกลางนิวซีแลนด์ให้ต้องออกมาเคลื่อนไหว โดยตลาดได้มีการคาดการณ์ถึงขั้นว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งเดียวถึง +50 basis point ในสัปดาห์นี้ จากการที่ธนาคารกลางได้เคยออกมาให้ความเห็นว่าจะต้องมีการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ต้องจับตาจากฝั่งยุโรป เพราะเราเริ่มเห็นสัญญาณของการฟื้นตัว หลังจากที่เชื้อโอมิครอนได้ฉุดเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 2021 โดยไฮไลท์จะอยู่ที่ German Ifo Business Climate ที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่สอง ทั้งในฝั่งของตัวเลขการคาดการณ์ และในฝั่งของสถานการณ์ในปัจจุบัน
เราคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขการคาดการณ์เงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนมกราคม อย่างไรก็ตาม ข้อมูล Eurozone sentiment ทั้งฝั่งของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการก็เป็นสิ่งที่ควรจับตา หลังจากที่มีการปรับตัวลดลงในปีที่แล้ว เราคาดว่าจะได้เห็นสัญญาณของการฟื้นตัวในเดือนกุมภาพันธ์นี้
การตอบสนองของตลาด:
- ค่าเงิน EUR จะได้รับแรงหนุนจากข้อมูลทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่เริ่มเห็นสัญญาณของการฟื้นตัว รวมถึงถ้าหากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้นมากกว่าที่คาด จะส่งผลบวกอย่างมากต่อ EUR
- ค่าเงิน NZD อาจเกิดความผันผวนหลังจากที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ประกาศนโยบายการเงิน รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่จะเป็นผลบวกต่อ NZD
ข้อมูลสำคัญจากละตินอเมริกา:
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของบราซิล (วันอังคารที่ 22 ก.พ., 1100GMT) คาดว่าตัวเลขจะลดลงมาอยู่ที่ 73.0 (จากเดิม 74.1)
- ตัวเลขเงินเฟ้อกลางเดือนของบราซิล (วันพุธที่ 23 ก.พ., 1200GMT) คาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อกลางเดือนจะอยู่ที่ 10.2%
- ตัวเลขการว่างงานของบราซิล (วันพฤหัสที่ 24 ก.พ., 1200GMT) คาดว่าตัวเลขจะสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 11.9% (จากเดิม 11.6%)
- ตัวเลขเงินเฟ้อกลางเดือนของเม็กซิโก (วันพฤหัสที่ 24 ก.พ., 1200GMT) คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 7.07%
- GDP Q4 ของเม็กซิโก - revised (วันพฤหัสที่ 24 ก.พ., 1200GMT) คาดว่าการเติบโตของ Q4 จะไม่ต่างจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ -0.1% (จากเดิม -0.4% ใน Q3)
- ประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางโคลอมเบีย (วันศุกร์ที่ 25 ก.พ., 1800GMT)
อัตราเงินเฟ้อของบราซิลที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 10.38% ในเดือนมกราคม คาดว่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ +10.2% ในการประกาศตัวเลขรอบกลางเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้เราคาดว่าจะได้เห็นสัญญาณของเงินเฟ้อในเม็กซิโกอีกครั้ง โดยคาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อกลางเดือนของเม็กซิโกจะอยู่ที่ 7.07%
ในส่วนของธนาคารกลางโคลอมเบียจะมีการประชุมกันในสัปดาห์นี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการประชุมที่ไม่มีการลงคะแนนเพื่อตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ย แต่ด้วยการที่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น (คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที 7.6% ในเดือนกุมภาพันธ์) เราคาดว่าธนาคารกลางโคลอมเบียจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 100 basis points ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ 5.0%
การตอบสนองของตลาด:
- ค่าเงิน BRL และ MXN อาจถูกกดดันจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ แต่หากมีสัญญาณว่าเงินเฟ้อเริ่มกลับสู่ภาวะปกติจะเป็นผลบวกต่อค่าเงิน BRL และ MXN
- ค่าเงิน COP อาจมีความเคลื่อนไหวตามสัญญาณของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประกาศของธนาคารกลาง
*บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น