Introduction

 

หลังสัปดาห์ที่สับสนวุ่นวายของตลาดหลักๆทั่วโลก เนื่องมาจากการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจระดับ Tier 1 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่เทรดเดอร์จะได้มีเวลาพักหายใจกันบ้าง เนื่องจากไม่ค่อยมีการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบกับตลาดมากนัก อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ก็ไม่ควรวางใจ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นได้ฉายภาพทางเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพพุ่งขึ้นในหลายภูมิภาคในปี 2022 ในส่วนของปฏิทินทางเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่การประกาศตัวเลขดัชนี CPI ของสหรัฐ, ตัวเลข GDP Q4 ของสหราชอาณาจักร รวมถึงการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อจากหลายประเทศ

ปัจจัยที่ควรติดตาม: 

●      ภูมิภาคอเมริกาเหนือ – ประกาศตัวเลข CPI ของสหรัฐ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครัฐมิชิแกน

●      ยุโรปและเอเชีย – ประกาศตัวเลขดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการเติบโตใน Q4 ของสหราชอาณาจักร

●      ละตินอเมริกา – การประกาศอัตราเงินเฟ้อของชิลี, เม็กซิโก และบราซิล รวมไปถึงการแถลงนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางเม็กซิโก

 

ข้อมูลสำคัญจากภูมิภาคอเมริกาเหนือ:

●      ตัวเลขดุลการค้าสหรัฐ - Goods & Services (วันอังคารที่ 8 ก.พ., 1330GMT) ยอดขาดดุลในเดือนธันวาคม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -$82.9bn (จากเดิม -$80.2bn ในเดือนพฤษจิกายน)

●      ประกาศตัวเลข CPI ของสหรัฐ (วันพฤหัสที่ 10 ก.พ., 1330GMT). ตัวเลข Headline CPI คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 7.2% (จากเดิม 7.0% ในเดือนธันวาคม) ส่วน core CPI คาดว่าจะปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 5.9% (จากเดิม 5.5%)

●      ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานของสหรัฐ (วันพฤหัสที่ 10 ก.พ., 1330GMT) 

●      ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครัฐมิชิแกน - ข้อมูลขั้นต้น (วันศุกร์ที่ 11 ก.พ., 1330GMT) คาดว่าดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 67.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ (จากเดิมที่ 67.2)

ธนาคารกลางของสหรัฐรวมถึงธนาคารกลางอีกหลายแห่งทั่วโลกมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะถ้าหากอัตราเงินเฟ้อไม่กลับไปสู่สภาวะปกติได้เร็วเท่าที่หวังไว้ อาจส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกรวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ ต้องนำนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นออกมาใช้งาน สำหรับคาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ เริ่มจากตัวเลขดัชนี CPI ของสหรัฐ ที่คาดว่าจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น อาจเป็นตัวเร่งให้ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เร็วกว่าที่คาดการณ์กันไว้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว เป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้ค่าเงิน USD มีความแข็งแกร่งมาตั้งแต่การประชุม FOMC ในเดือนมกราคม

 

 

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครัฐมิชิแกน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนึ่งที่ควรจับตา โดยข้อมูลขั้นต้นของเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 67.6 ซึ่งการคาดการณ์นี้ได้แรงหนุนทั้งจากการเพิ่มขึ้นในส่วนของดัชนีภาวะปัจจุบัน (ปรับตัวขึ้นเป็น 72.4) และในส่วนของดัชนีคาดการณ์ (ปรับตัวขึ้นเป็น 65.0) สำหรับในส่วนของเงินเฟ้อ ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะ 5 ปี คาดว่าจะยังคงเดิมที่ +3.1% ทั้งนี้ ถ้าหากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่คาดกันไว้ ก็อาจเป็นตัวเร่งให้ Fed ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์กันได้ 

 

 

การตอบสนองของตลาด: 

●      ค่าเงิน USD อาจแข็งค่ามากขึ้น ถ้าหากมีสัญญาณใดๆ ที่บ่งบอกว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ในข้อมูล CPI (หรืออยู่ในข้อมูลผู้บริโภคที่สำรวจโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน)

●      ค่า risk appetite จะเพิ่มขึ้นในวงกว้างถ้าหากมีสัญญาณใดๆของเงินเฟ้อ

 

ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย: 

●      ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของออสเตรเลีย (วันอังคารที่ 8 ก.พ., 2330GMT) คาดว่าดัชนีจะตกลงมาอยู่ที่ 102.0 (จากเดิม 102.2 ในเดือนมกราคม)

●      การประกาศตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (วันพุธที่ 9 ก.พ., 0200GMT) 

●      การประกาศตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของออสเตรเลีย (วันศุกร์ที่ 11 ก.พ., 0400GMT) คาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ (เพิ่มขึ้นจาก 4.4% ในเดือนมกราคม)

●      ประกาศตัวเลข GDP ของสหราชอาณาจักร – ข้อมูลขั้นต้นของ Q4 (วันศุกร์ที่ 11 ก.พ., 0700GMT) คาดว่าการเติบโต QoQ จะอยู่ที่ +1.2% (จากเดิม 1.1% ใน Q3)

●      ประกาศดุลการค้าของสหราชอาณาจักร - Goods (วันศุกร์ที่ 11 ก.พ., 0700GMT) คาดว่าตัวเลขขาดดุลจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -£12.0bn (เพิ่มขึ้นจาก -£11.3bn)

●      ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร (วันศุกร์ที่ 11 ก.พ., 0700GMT) คาดว่าตัวเลขของเดือน ธ.ค. จะปรับตัวเพิ่มขึ้น +0.9% (เพิ่มขึ้นจาก +0.1% ในเดือนพฤศจิกายน)

●      ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสวิตเซอร์แลนด์ (วันศุกร์ที่ 11 ก.พ., 0730GMT) คาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 1.6% (เพิ่มจาก 1.5% ในเดือนธันวาคม)

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ค่อนข้างจะเงียบเหงาสำหรับตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากสหรัฐ อย่างไรก็ตาม เราเห็นสัญญาณของเงินเฟ้อที่ควรต้องจับตามอง โดยเฉพาะตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลอย่างมากกับการตัดสินใจของธนาคารกลางของทั้ง 2 ประเทศนี้ สำหรับนิวซีแลนด์ ถ้าหากตัวเลขล่าสุดยังคงสูงกว่า 3.0% จะทำให้เงินเฟ้อพุ่งทำลายสถิติสูงสุดเดิมในปี 2008 ส่วนในฟากออสเตรเลีย ถ้าหากตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดสูงกว่า 4.8% ก็จะเป็นการกดดันให้ธนาคารกลางต้องออกมาเคลื่อนไหว

 

สำหรับในฝั่งของสหราชอาณาจักร ข้อมูลการเติบโตใน Q4 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ Q3 โดย GDP ขั้นต้น คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น +1.2% ทำให้การเติบโตเมื่อเทียบเป็น year on year สำหรับทั้งปี 2021 อยู่ที่ +6.6% ซึ่งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตัวเลขของ Q3 ที่ +6.8% โดยเรายังคงจับตาดูการปรับตัวสูงขึ้นของผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม

 

 

การตอบสนองของตลาด: 

●      ค่าเงิน AUD และ NZD คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นถ้าหากตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อสูงขึ้น  

●      ปัจจัยสำคัญที่กระทบกับค่าเงิน GBP อยู่ที่การประกาศ GDP ในวันศุกร์ ถ้าหากตัวเลขออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ จะส่งผลบวกต่อ GBP

●      ค่าเงิน CHF ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อของสวิตเซอร์แลนด์ ยกเว้นว่าตัวเลขจะออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์กันไว้มาก

 

ข้อมูลสำคัญจากละตินอเมริกา: 

●      ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของชิลี (วันอังคารที่ 8 ก.พ., 1100GMT) คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับเท่าเดิมที่ 7.2% ในเดือนมกราคม

●      ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของเม็กซิโก (วันพุธที่ 9 ก.พ., 1200GMT) คาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 7.25% (จากเดิม 7.36% ในเดือนธันวาคม)

●      ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ IPCA ของบราซิล (วันพุธที่ 9 ก.พ., 1200GMT) คาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 10.46% (จากเดิม 10.06% ในเดือนธันวาคม)

●      การประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางเม็กซิโก (วันพฤหัสที่ 10 ก.พ., 1900GMT) คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย +50bps ขึ้นมาอยู่ที่ 6.0% (จากเดิม 5.5% ในเดือนธันวาคม)

 

เงินเฟ้อยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับละตินอเมริกาที่ส่งผลให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากๆ โดยตัวเลขเงินเฟ้อของชิลีพุ่งขึ้นในอัตราครึ่งเปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ติดต่อกันมาถึง 5 เดือนแล้ว อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าเงินเฟ้อจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาสะปกติในเดือนนี้ สำหรับเม็กซิโก คาดว่าตัวเลขในเดือนที่แล้วจะเริ่มทรงตัว รวมถึงค่อยๆกลับสู่สภาวะปกติในสัปดาห์นี้ ในส่วนของบราซิล ถึงแม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงในเดือนที่แล้ว แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งในเดือนมกราคมที่ผ่านมา

 

 

ธนาคารกลางเม็กซิโกได้ทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 50bps ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รวมถึงคาดว่าจะปรับเพิ่มอีก 50bp ในสัปดาห์นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง (คาดว่าจะกลับมาอยู่สูงกว่า 7% อีกครั้ง) ทำให้ธนาคารกลางเม็กซิโกมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วต่อไป

การตอบสนองของตลาด: 

●      ค่าเงิน CLP, MXN และ BRL จะมีการตอบสนองหากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาด

●      ค่าเงิน MXN มีโอกาสแข็งค่ามากขึ้น หากธนาคารกลางเม็กซิโกมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่ 50 basis points