บทนำ

ในการเริ่มต้นเดือนใหม่ ก็ได้เวลาของการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจระดับ Tier 1 ที่สามารถขับเคลื่อนตลาดการเงิน ทั้งดัชนี PMI ของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และ GDP ของออสเตรเลีย, แคนาดา และบราซิล รวมถึงการที่หลายฝ่ายได้มีการจับตาถึงผลกระทบของภาวะ stagflationary ที่มีต่อตลาดแรงงาน โดยในสัปดาห์นี้จะมีการอัปเดตข้อมูลทั้งจาก สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และยูโรโซน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเงินเฟ้อที่เริ่มจะส่งผลกระทบต่อยูโรโซน รวมถึงคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแคนาดา

ข้อมูลที่ควรจับตา: 

  • อเมริกาเหนือ – PMI (สหรัฐฯ และแคนาดา), ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจากธนาคารกลางแคนาดา
  • ยุโรปและเอเชีย – อัตราการว่างงาน (ญี่ปุ่น, ยูโรโซน), ดัชนี PMI (จีน, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, ยูโรโซน และสหราชอาณาจักร), อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน

ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ: 

ในสัปดาห์นี้มีข้อมูลมากมายที่ต้องติดตาม เริ่มต้นที่สหรัฐฯ: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่กลางปี 2021 และคาดว่าจะปรับตัวลดลงต่อ สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งถึงแม้นี่จะไม่ใช่เรื่องที่ผิดคาดนัก แต่หากข้อมูลที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็อาจทำให้ความเสี่ยงในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ส่วนข้อมูลจาก ISM คาดว่าดัชนีในส่วนภาคการผลิตจะปรับลดลงเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนีในฝั่งของภาคบริการอาจปรับตัวลงไปถึง 2 จุด ทำให้ดัชนีภาคการบริโภคของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ต้องถูกจับตาต่อไป

สำหรับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะมีการประกาศในวันศุกร์นี้ คาดว่าตัวเลขการจ้างงานในเดือนพฤษภาคมยังคงเติบโตต่อไปได้เรื่อยๆ อยู่ที่ประมาณ 300,000 ตำแหน่งกลางๆ อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลดลงของการจ้างงานบ้างนั้นถือเป็นเรื่องปกติในภาวะที่ตลาดแรงงานตึงตัวแบบนี้, อัตราการว่างงานคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 3.5% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดของ COVID-19 ซึ่งผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญ, โดยอัตราค่าจ้างมีการปรับลดลงเล็กน้อยในเดือนที่แล้ว และหากอัตราค่าจ้างในเดือนพฤษภาคมนี้ยังคงปรับตัวลดลงต่อไปก็หมายความว่าผลกระทบจากเงินเฟ้อกำลังจะค่อยๆ คลายตัวลง

ในสัปดาห์นี้มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงิน CAD อย่างมาก ทั้ง GDP ของแคนาดา รวมถึงการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา โดยคาดว่า GDP ใน Q1 จะออกมาดูดี มีการเติบโตที่สูงกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ส่วนมาก ซึ่งจะรองรับการที่ธนาคารกลางแคนาดาสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ถึง 50bps, จุดสำคัญจะอยู่ที่สัญญาณที่ธนาคารกลางแคนาดาสื่อออกมาถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยผู้ว่าการ Tiff Macklem ได้แสดงความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรจะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 3% ในเวลาอันสมควร และอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงเป็นปัจจัยที่น่ากังวล

การตอบสนองของตลาด: 

  • USD คาดว่าจะมีการตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลต่างๆ ในสัปดาห์นี้ โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่ USD ยังสามารถปรับตัวลดลงได้อีกหรือไม่ ถ้าข้อมูลต่างๆ ออกมาแย่กว่าที่คาดกันไว้ 
  • CAD อาจมีความผันผวนในช่วงที่ธนาคารกลางแคนาดาทำการประกาศข้อมูล โดยเฉพาะถ้ามีการส่งสัญญาณถึงอัตราดอกเบี้ยในระดับที่สูงกว่า 3% จะช่วยส่งเสริมค่าเงิน CAD 

 

ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย:

นอกจากดัชนี PMI แล้ว ข้อมูลของตลาดแรงงานและ GDP เป็นอีกปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อตลาด รวมถึงอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนก็เป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำคัญที่จะมีการประกาศในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางข่าวลือหนาหูถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากผู้ว่าธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ซึ่งข่าวลือนี้จะยิ่งมีมูลมากขึ้นไปอีกถ้าอัตราเงินเฟ้อในสัปดาห์นี้ออกมาสูงกว่าที่คาด, โดยนักวิเคราะห์ยังคงเสียงแตกในกรณีนี้ บางคนคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจจะเริ่มปรับตัวลดลง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความกดดันต่อผู้ว่าการธนาคารกลางต่างๆ ในการปรับขึ้นดอกเบี้ย

สำหรับในภูมิภาคอื่นๆ เราคาดว่าอัตราการว่างงานน่าจะปรับตัวดีขึ้นในยูโรโซน ในขณะที่อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำมากที่ 2.6%

การสำรวจดัชนี PMI ขั้นสุดท้ายของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ คาดว่าจะไม่มีการปรับตัวเลขใดๆ จากการสำรวจในครั้งก่อน โดยตลาดต่างๆ น่าจะมีการตอบสนองต่อตัวเลขที่ออกมาผิดจากที่คาดไว้ได้  

ดัชนี PMI ของจีนที่ประกาศอย่างเป็นทางการเป็นอีกปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนตลาด โดยผลจากการล็อกดาวน์ตามนโยบาย zero-COVID (โดยเฉพาะที่เซี่ยงไฮ้) เป็นปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงในภาพรวมในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าดัชนี PMI ของจีนจะบ่งชี้ถึงการหดตัวลงอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนี PMI ในเดือนพฤษภาคมจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 46.0 แต่หากข้อมูลที่ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็จะส่งผลในแง่ดีต่อสถานการณ์ในภาพรวม

การตอบสนองของตลาด: 

  • คาดว่าสถานการณ์ในภาพรวมจะได้รับผลกระทบจาก PMI ของจีนที่จะมีการประกาศในวันพุธ

EUR อาจมีความผันผวนมากขึ้นในเวลาที่มีการประกาศอัตราเงินเฟ้อ โดยค่าเงิน EUR จะได้รับแรงหนุนหากข้อมูลที่ออกมาดีกว่าที่คาดไว้