บทนำ

และแล้ว เราได้เข้าสู่สัปดาห์ที่สามของเดือนที่มีการประกาศข้อมูลระดับ Tier 1 มากมายกันอีกครั้ง โดยมีไฮไลต์สำคัญอยู่ที่ข้อมูลค้าปลีกสหรัฐฯ ซึ่งถึงแม้สหรัฐฯ จะมีการประกาศข้อมูลไม่มากในสัปดาห์นี้ แต่ที่ประเทศอื่นๆ กลับมีปัจจัยที่ส่งผลอยากมากต่อการเคลื่อนไหวของตลาด ทั้งอัตราการว่างงาน, อัตราเงินเฟ้อ CPI และข้อมูลการค้าปลีกของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ในส่วนของภูมิภาคเอเชีย เรามีข้อมูลการเติบโตและอัตราเงินเฟ้อจากญี่ปุ่น รวมถึงอัตราการว่างงานและอัตราดอกเบี้ยจากจีนให้ต้องจับตา 

ปัจจัยที่ควรจับตาในแต่ละภูมิภาค: 

  • อเมริกาเหนือ – ตัวเลขค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ, ดัชนี CPI จากแคนาดา
  • ยุโรปและเอเชีย – ข้อมูลตลาดแรงงาน, ตัวเลข CPI และตัวเลขค้าปลีกของสหราชอาณาจักร, GDP และ CPI ของญี่ปุ่น, อัตราการว่างงานของออสเตรเลีย และอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางจีน


ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ: 

ยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคนับเป็นสัดส่วนถึง 70% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนั้น ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ จึงเป็นตัวชี้วัดทิศทางเศรษฐกิจที่ดี โดยยอดค้าปลีกที่ปรับปรุงแล้วมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกเดือนนับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกเราว่าในตอนนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอยู่ในภาวะที่สดใส อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าข้อมูลของเดือนเมษายนนี้อาจจะออกมาไม่ดีนัก หรือแม้แต่ออกมาแย่กว่าที่คาด (ตัวเลขอาจถึงขั้นติดลบ) ส่งผลให้หลายฝ่ายเริ่มกังวลถึงถึงสภาพเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ

Chart, histogram

Description automatically generated

นอกจากนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่บ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขของเดือนเมษายนยังคงเติบโตได้ตามค่าเฉลี่ย ส่งผลให้ตัวเลขการเติบโตในรอบ 12 เดือนอยู่ที่ 2% ถึงแม้ว่าระดับการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจนอยู่เหนือระดับก่อน COVID แล้วก็ตาม (ตัวเลขการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 78.6% และมีแนวโน้มที่จะปรับลดลง) ทำให้เริ่มมีความกังวลกันถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง โดยเฉพาะถ้าข้อมูลจาก Fed สาขาต่างๆ ในเดือนพฤษภาคมออกมาไม่ดีนัก หรือแย่กว่าที่คาดไว้

Graphical user interface, chart

Description automatically generated


สำหรับในฝั่งแคนาดา การประกาศอัตราเงินเฟ้อ CPI ในวันพุธจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ที่ซื้อขาย CAD ซึ่งตามที่รองผู้ว่าธนาคารกลางแคนาดา Governor Gravelle ได้ให้ความเห็นไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1% อาจเป็นการ “กระตุ้นที่มากเกินไป” สำหรับแรงกดดันด้านราคาสินค้าที่แคนาดากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองว่าการเพิ่มความเข้มงวดของนโยบายการเงินกำลังจะเกิดขึ้น นี้นักวิเคราะห์ยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI ของแคนาดาน่าจะเริ่มปรับตัวลดลงบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม จากที่สหรัฐฯ มีการประกาศดัชนี CPI เมื่อสัปดาห์ที่แล้วออกมาดีกว่าที่คาดไว้ ทำให้มีแนวโน้มว่าสถานการณ์ของแคนาดาก็อาจออกมาในทิศทางเดียวกับสหรัฐก็เป็นได้ ดังนั้น เทรดเดอร์ควรระมัดระวังกับการเทรดบนพื้นฐานที่ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลง ซึ่งสิ่งนี้อาจช่วยหนุนค่าเงิน CAD 

การตอบสนองของตลาด: 

  • USD อาจมีความผันผวนเพิ่มขึ้นเมื่อมีการประกาศยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
  • CAD คาดว่าจะได้รับแรงหนุนหากอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาออกมาดีกว่าที่คาดไว้แบบเดียวกับ CPI ของสหรัฐฯ


ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย: 

  • อัตราการว่างงานและอัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายสัปดาห์ วันอังคารที่ 17 พ.ค., 0700BST) คาดว่าอัตราการว่างงานในเดือนมีนาคมยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 3.8% ส่วนอัตราค่าจ้างคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.7% (จากเดิม 5.4%)
  • GDP ของยูโรโซน (วันอังคารที่ 17 พ.ค., 1000BST) คาดว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขในการประเมิน GDP ครั้งที่สอง ที่ +0.2% (ลดลงจาก +0.3% ใน Q4 2021)
  • GDP ของญี่ปุ่น (วันพุธที่ 18 พ.ค., 0050BST) คาดว่าตัวเลข GDP เบื้องต้นใน Q1 จะปรับลดลงมาอยู่ที่ -0.4% (จากเดิม +1.1% ใน Q4 2021))
  • ดัชนี CPI ของสหราชอาณาจักร (วันพุธที่ 18 พ.ค., 0700BST) คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนเมษายน อยู่ที่ 8.9% (จากเดิม 7.0% ในเดือนมีนาคม) ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นมาอยู่ที่ 6.5% เช่นกัน (จากเดิม 5.7%) 
  • อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน (วันพุธที่ 18 พ.ค., 1000BST) คาดว่าอัตราเงินไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งเฟ้อทั่วไป HICP ที่ 7.5% และเงินเฟ้อพื้นฐาน HICP ที่ 3.5% 
  • อัตราการว่างงานของออสเตรเลีย (วันพฤหัสที่ 19 พ.ค., 0230BST) คาดว่าอัตราการว่างงานในเดือนเมษายนจะลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ 3.9% (จากเดิม 4.0% ในเดือนมีนาคม)
  • การตีพิมพ์รายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (วันพฤหัสที่ 19 พ.ค., 1230BST) 
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน CPI ของญี่ปุ่น (วันศุกร์ที่ 20 พ.ค., 0030BST) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนเมษายนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ +1.2% (จากเดิม +0.8% ในเดือนมีนาคม) 
  • การประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีน (วันศุกร์ที่ 20 พ.ค., 0230BST) คาดว่าอัตราดอกเบี้ย Loan Prime Rate ของจีนจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 3.7% 
  • ยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักร (วันศุกร์ที่ 20 พ.ค., 0700BST) คาดว่ายอดค้าปลีกของเดือนเมษายนยังคงปรับลดลงมาอยู่ที่ -1.2% (จากเดิม -1.1% ในเดือนมีนาคม) 
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน (วันศุกร์ที่ 20 พ.ค., 1500BST) คาดว่าความเชื่อมั่นจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ที่ -21.3 (จากเดิม -22.0 ในเดือนเมษายน) 


ถึงแม้จะมีการคาดกันว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ได้มาถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ยังไม่ใช่กับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหราชอาณาจักรคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในเดือนเมษายน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline inflation) คาดว่าเข้าใกล้ระดับ 9% และในส่วนของเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 6.5% ซึ่งเป็นผลมาจากราคาพลังงานภาคครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนอัตราค่าจ้างที่ปรับสูงขึ้นก็ยิ่งเพิ่มความกังวลว่าอาจจะต้องใช้เวลาอีกซักระยะ กว่าที่เงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวลดลง สอดคล้องกับที่ธนาคารกลางอังกฤษได้คาดการณ์ว่าสถานการณ์เงินเฟ้อสามารถจะแย่ลงได้อีกในเดือนต่อๆ ไป โดยเงินเฟ้ออาจเข้าสู่จุดสูงสุดในช่วงสิ้นปี 2022

ในส่วนของญี่ปุ่น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI พื้นฐาน (core CPI) จะอยู่ที่ 1.2% อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น คุณ Kuroda ยังคงมองในแง่ดีว่าที่เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นในครั้งนี้มาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%

Chart, histogram

Description automatically generated

สำหรับข้อมูลอื่นๆ เราคาดว่าจะได้เห็นการเติบโตที่ลดลงของ GDP Q1 ของญี่ปุ่น และ GDP Q1 ของยูโรโซนคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ +0.2% นอกจากนี้ ในส่วนของยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรคาดว่าจะสะท้อนภาพของภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตได้อย่างจำกัด ตามที่ธนาคารกลางอังกฤษได้คาดการณ์ไว้

การตอบสนองของตลาด: 

  • GBP ผู้ที่ซื้อขาย GBP มีข้อมูลสำคัญที่ควรติดตามตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งอัตราการว่างงาน, อัตราค่าจ้าง, ดัชนี CPI และยอดค้าปลีก แต่โดยภาพรวมแล้ว เราคาดว่าปัจจัยยังคงเป็นลบสำหรับ GBP
  • JPY ค่าเงิน JPY อาจต้องเผชิญกับภาวะที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนั้นยังมี GDP และอัตราเงินเฟ้อให้ต้องติดตาม แต่โดยรวมแล้วถ้า GDP และ CPI ไม่ออกมาผิดจากที่คาด ค่าเงิน JPY น่าจะยังคงเคลื่อนไหวอย่างจำกัด  
  • GDP และอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ แต่รายงานการประชุมของธนาคารกลางยุโรปที่กำลังจะออกมาอาจส่งผลกับ EUR โดยเฉพาะถ้ามีแนวโน้มที่คณะบริหารจะเพิ่มความเข้มงวดของนโยบายการเงิน


*บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น