บทนำ

สัปดาห์นี้เป็นอีกสัปดาห์หนึ่งที่เทรดเดอร์จะยุ่งอยู่กับการติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจระดับ Tier 1 จำนวนมาก จากการที่ธนาคารกลางขนาดใหญ่ถึง 4 แห่ง มีการแถลงการณ์เกี่ยวกับนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ โดยเรื่องที่หลายให้ความสำคัญคือเรื่องของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งคาดว่า Fed จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50  basis points ในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ยังมีธนาคารกลางอังกฤษที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน และนอกจากนี้ยังมีการประกาศตัวเลขค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจากหลายประเทศ 

ปัจจัยที่ควรจับตาในแต่ละภูมิภาค: 

  • อเมริกาเหนือ – การประชุมของ Fed รวมถึงยอดค้าปลีกสหรัฐฯ และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม 
  • ยุโรปและเอเชีย – นโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น, ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ และธนาคารกลางอังกฤษ 

 

ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ: 

ในสัปดาห์นี้ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความผันผวนและความเสี่ยงในภาพรวมมากที่สุดคงหนีไม่พ้น การประชุม Fed โดยจุดสนใจจะอยู่ที่ว่าเครื่องมือชี้วัดอัตราเงินเฟ้อต่างๆ กำลังส่งสัญญาณว่าสถานการณ์เงินเฟ้อน่าจะเริ่มคลายตัวลงบ้างแล้ว ซึ่งจะคณะกรรมการ FOMC มีแนวโน้มที่จะลดความเข้มงวดของนโยบายการเงินลงได้ ทำให้คาดการณ์กันว่าในสัปดาห์นี้ Fed น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 50 basis points (จากเดิมที่หลายฝ่ายคาดกันว่าอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 75 basis points) รวมถึงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก +50bps ในเดือนกรกฎาคมนี้

คำถามก็คือจากนี้ Fed จะมีความเคลื่อนไหวที่เป็น “สายเหยี่ยว” นอกเหนือจากนี้อีกหรือไม่? หรือว่าจะมีการหยุดเคลื่อนไหวชั่วคราวเพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้งในการประชุมรอบเดือนกันยายน? ซึ่งหากมีสัญญาณใดๆ ของการลดความแข็งกร้าวในนโยบายการเงินลง จะส่งผลต่อผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น รวมถึงอาจส่งผลให้ค่าเงิน USD มีการดีดกลับได้ นอกจากนี้ยังควรจับตาดูการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในการประมาณการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจผ่านแผนภูมิด้านล่างนี้ ซึ่งถ้าหากมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาด ก็อาจส่งผลให้ตลาดมีการเคลื่อนไหวได้

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ของสหรัฐฯที่ควรจับตา ได้แก่ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่คาดว่าตัวเลขจะออกมาอย่างแข็งแกร่ง ในส่วนของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม จากผลการสำรวจของ Fed สาขาต่างๆ คาดว่าตัวเลขจะปรับลดลงเล็กน้อยนับตั้งแต่ที่สงครามในยูเครนเริ่มต้นขึ้น โดยเฉพาะ Fed สาขานิวยอร์กและฟิลาเดลเฟีย ที่คาดว่าตัวเลขจะออกมาดีใน Q2 นี้

การตอบสนองของตลาด:

  • USD จะเคลื่อนไหวไปตามการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed รวมถึงการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในอนาคต

 

ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย:

ในสัปดาห์นี้จะมีการอัปเดตนโยบายการเงินจากธนาคารกลางหลายแห่ง รวมทั้งธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ที่กำลังค่อยๆ ปรับตัวเข้าสู่การใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ในกรณีของญี่ปุ่น หากค่าเงิน JPY มีการอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง แปลว่าเทรดเดอร์กำลังมองหาสัญญาณที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเข้ามาทำการแทรกแซงค่าเงิน

ในฝั่งของสหราชอาณาจักร ธนาคารกลางอังกฤษกำลังเผชิญสถานการณ์ยากลำบากเพราะดูเหมือนว่าเศรษฐกิจกำลังจะเข้าสู่สภาวะ stagflation โดยตลาดแรงงานที่ตึงตัวได้กดดันให้อัตราค่าจ้างพุ่งสูงขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นก็ดูจะมีแนวโน้มที่ไม่ได้ดูดีนัก นอกจากนี้ยังคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของอังกฤษจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25bps แต่ยังคงไม่แน่ชัดว่ามติของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้จะเป็นเอกฉันท์มากขนาดไหน หรือว่ามาตรการนี้จะสิ้นสุดลงแค่ในช่วงฤดูร้อนนี้หรือไม่?

ส่วนของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนและยูโรโซน ถึงแม้จะคาดกันว่าน่าจะเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ใน Q2 นี้คาดว่าตัวเลขจะยังคงออกมาในแดนลบอยู่

การตอบสนองของตลาด: 

  • คาดว่าสภาวะของตลาดในภาพรวมอาจเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลจากจีนในวันพุธนี้
  • การเคลื่อนไหวของค่าเงิน GBP ในสัปดาห์นี้เป็นสิ่งที่ต้องจับตา ด้วยปัจจัยทั้งจากอัตราการว่างงานในวันอังคาร, การประกาศของธนาคารกลางอังกฤษในวันพฤหัส และยอดค้าปลีกในวันศุกร์ โดยเฉพาะถ้าหากธนาคารกลางอังกฤษมีการส่งสัญญาณของนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากกว่าที่คาด อาจส่งผลให้ค่าเงิน GBP มีการดีดกลับได้

 

*บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น