บทนำ
ปกติแล้วในสัปดาห์ที่สี่ของเดือน เป็นสัปดาห์ที่เราจะได้เห็นข้อมูลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนนั้น เช่น flash PMI ที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงกระบวนการต่างๆ ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ซึ่งจากการคาดการณ์ ตัวเลขในเดือนพฤษภาคมน่าจะแย่ลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน แต่เชื่อว่าน่าจะไม่มีอะไรน่ากังวลในขณะนี้ ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจได้แก่ การปรับตัวเลข GDP ของสหรัฐอเมริกา และ Michigan Sentiment รวมถึงการอัปเดตนโยบายการเงินของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตามอง หลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 basis point ไปในการประชุมครั้งล่าสุด
ปัจจัยที่ควรจับตาในแต่ละภูมิภาค:
- อเมริกาเหนือ – Flash PMIs, prelim Q1 GDP ของสหรัฐฯ และ final Michigan Sentiment
- ยุโรปและเอเชีย – Flash PMIs ของออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, ยูโรโซนและสหราชอาณาจักร; รวมถึงจับตาการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางนิวซีแลนด์
อเมริกาเหนือ
ถึงแม้เงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้หลายฝ่ายรู้สึกกังวล โดยเฉพาะในด้านผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งในวอลล์สตรีท เริ่มมีความกลัวถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างจับตาข้อมูลที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด
flash PMI ของสหรัฐฯ ที่จะมีการประกาศในวันอังคารเป็นข้อมูลสำคัญที่สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงกลางไตรมาสที่ 2 ซึ่งเราคาดว่าดัชนี PMI จะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคม แต่ก็ยังถือว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำได้ค่อนข้างดีในไตรมาสที่ 2 โดย Composite PMI ที่ 55.5 เป็นตัวเลขที่กำลังดี ซึ่งจากแบบจำลองที่ใช้ในปัจจุบัน (เช่น แบบจำลอง GDPNow ของ Fed สาขาแอตแลนต้า) ชี้ให้เห็นว่า GDP ไตรมาสที่ 2 จะอยู่ที่ประมาณ 2.5% ถึง 3.0% ซึ่งถ้าตัวเลขออกมาตามที่คาดก็จะช่วยบรรเทาความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้
ดัชนี Richmond Fed’s Manufacturing Index ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด หลังจากที่ข้อมูลทั้งจาก New York และ Philly Fed ในเดือนพฤษภาคมออกมาไม่ดีนัก โดยเมื่อมองย้อนกลับไปในเดือนเมษายน ข้อมูลสินค้าคงทนที่ออกมาดูแข็งแกร่ง รวมถึงคาดว่าจะไม่มีการปรับตัวเลข Prelim Q1 GDP ที่ออกมาเซอร์ไพรส์ตลาดด้วยตัวเลขติดลบ -1.4% ซึ่งน่าจะเป็นเพราะกระแสของการค้าระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา
การตอบสนองของตลาด:
- ความเสี่ยงในภาพรวมอาจได้รับแรงหนุนหากตัวเลข Flash PMI ออกมาดีกว่าที่คาด ในขณะที่เทรดเดอร์อาจมองข้ามการซื้อขาย USD เป็นการชั่วคราว เนื่องจากเราอาจได้เห็นการปรับฐานเกิดขึ้นได้
ยุโรปและเอเชีย
Flash PMI ในเดือนพฤษภาคมของกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่คาดว่าจะปรับลดลงเล็กน้อย โดยคาดว่าจะเป็นการปรับลดลงของทั้งภาคการผลิตและบริการ โดย Composite PMI ของทั้ง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ยูโรโซน และสหราชอาณาจักร คาดว่าจะปรับลดลงน้อยกว่า 1 จุด โดยหากคำนึงถึงผลกระทบของเงินเฟ้อที่มีต่อระบบเศรษฐกิจแล้ว ผลลัพธ์นี้ก็ดูไม่ได้เลวร้ายนัก บนภูมิหลังของภาพรวมทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ในขณะนี้
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์นับเป็นธนาคารกลางชั้นนำที่มีแนวโน้มนโยบายที่แข็งกร้าวมากที่สุดในการรับมือกับเงินเฟ้อ โดยมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้ +50bps ขึ้นมาอยู่ที่ 1.50% และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก +50bps ในการประชุมธนาคารกลางสัปดาห์นี้ ซึ่งสิ่งที่น่าจับตาอยู่ที่ว่าทางธนาคารกลางออสเตรียเลียมองว่าจำเป็นจะต้องใช้มาตรการที่แข็งกร้าวมากขึ้นอีกในอนาคตหรือไม่ ส่วนทางด้านผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็เริ่มที่จะมีการปรับฐานลงมาให้เห็น ซึ่งสิ่งนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าตลาดเชื่อว่าน่าจะมีการลดความแข็งกร้าวของนโยบายลงในอนาคต
การตอบสนองของตลาด:
- เทรดเดอร์ที่ซื้อขาย AUD, JPY, EUR และ GBP ควรจับตาดูดัชนี flash PMI อย่างใกล้ชิดเพื่อมองหาสัญญาณที่ว่าเงินเฟ้ออาจมาถึงจุดสูงสุดแล้ว รวมถึงผลกระทบที่มีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
- NZD จะมีการตอบสนองต่อแนวโน้มของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ถ้าหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย +50bps ตามที่คาดการณ์ไว้
*บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น