บทนำ

สำหรับตลาดในสัปดาห์นี้จะมีวันซื้อขายที่สั้นลงเนื่องจากวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์ในวันศุกร์ แต่อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้ยังคงมีข้อมูลระดับ Tier 1 มากมายที่ต้องจับตา ทั้งตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 8%, ข้อมูลการบริโภคจากสหรัฐฯ ทั้ง Retail Sale และ Michigan Sentiment รวมถึงธนาคารกลางชั้นนำ 3 แห่ง ที่มีกำหนดแถลงนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ ซึ่งผู้เล่นในตลาดต่างให้ความสนใจว่า นโยบายการเงินที่ออกมาของทั้ง Boc, RBNZ และ ECB จะมีความเข้มงวดมากขนาดไหน

ปัจจัยที่ควรจับตาในแต่ละภูมิภาค: 

  • อเมริกาเหนือ – ตัวเลข CPI สหรัฐฯ, ยอดค้าปลีก และ Michigan Sentiment; รวมถึงแถลงการณ์ของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) 
  • ยุโรปและเอเชีย – แถลงการณ์จากธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) และธนาคารกลางยุโรป (ECB); รวมไปถึงอัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหราชอาณาจักร


ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ: 

หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ทรงตัวมาตลอดหน้าร้อนในปี 2021 ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา โดยตัวเลข headline CPI ในเดือนมีนาคม คาดการณ์ว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเหนือ 8% และนี่อาจจะยังไม่ใช่จุดสูงสุด โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นไปแตะจุดสูงสุดอย่างเร็วที่สุดในฤดูร้อนปีนี้ ส่วนตัวเลข Core inflation คาดว่าจะขึ้นมาแตะระดับ 7% ในเดือนหน้า ทำให้คาดกันว่า Fed อาจเตรียมการที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 50bps ในการประชุมครั้งต่อไป หรือหากอัตราเงินเฟ้อยังคงพุ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เราก็อาจจะได้เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดได้

ในสัปดาห์นี้ยังเป็นสัปดาห์ของการประกาศข้อมูลผู้บริโภคสหรัฐฯ โดยตัวเลขค้าปลีกคาดว่าจะเติบโตขึ้น +0.7% อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่า Michigan Sentiment จะยังคงสะท้อนภาพที่ย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งฝั่งของตัวเลขสถานการณ์ในปัจจุบัน และความคาดหวังในอนาคต ซึ่งเทรดเดอร์ควรจับตาตัวเลขการคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาวอีกด้วย

ความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ส่วนธนาคารกลางแคนาดาคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 basis points ขึ้นมาเป็น 1.00% ในวันพุธนี้ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของสิ่งที่คาดว่า Fed กำลังจะดำเนินการ โดยผู้เล่นในตลาดต่างจับจ้องไปที่ผู้ว่าการ Macklem ว่าจะมีการส่งสัญญาณอย่างไรต่อแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

การตอบสนองของตลาด: 

  • USD คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวตลอดทั้งสัปดาห์จากการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจระดับ Tier 1 ซึ่งถ้าหากข้อมูล CPI ในวันอังคารออกมาสูงกว่าที่คาดจะเป็นผลบวกต่อ USD ในขณะที่ยอดค้าปลีกจะส่งผลในระยะที่สั้น และ Michigan Sentiment จะกระทบต่อตลาดในกรณีที่ตัวเลขที่ออกมาต่ำกว่าคาด และคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ consumer inflation ก็เป็นสิ่งที่ควรจับตาเช่นกัน
  • CAD จะมีการตอบสนองต่อท่าทีของธนาคารกลางแคนาดาว่าจะมีการส่งสัญญาณของนโยบายการเงินในอนาคตมราเข้มงวดมากแค่ไหน 


ยุโรปและเอเชีย: 

  • อัตราการว่างงานและอัตราค่าจ้างของสหราชอาณาจักร (วันอังคารที่ 12 เม.ย., 0700BST) อัตราการว่างงานของเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 3.8% (จากเดิม 3.9% ในเดือนมกราคม) พร้อมด้วยค่าจ้างเฉลี่ยรายสัปดาห์ที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 6.0% (จากเดิม 4.8% ในเดือนมกราคม) 
  • ดัชนี ZEW Economic Sentiment ของเยอรมนี (วันอังคารที่ 12 เม.ย., 1000BST) นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ -50.0 ในเดือนเมษายน (จากเดิม -39.9 ในเดือนมีนาคม) 
  • การประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (วันพุธที่ 13 เม.ย., 0300BST) คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย +25bps ขึ้นมาอยู่ที่ 1.25% (จากก่อนหน้าอยู่ที่ 1.00%)
  • ดุลการค้าของจีน (วันพุธที่ 13 เม.ย., 0300BST) คาดว่าตัวเลขดุลการค้าจะออกมาเกินดุลน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญที่ +$22.4bn (จากเดิม +$116.0bn ในเดือนกุมภาพันธ์) 
  • ดัชนี CPI ของสหราชอาณาจักร (วันพุธที่ 13 เม.ย., 0700BST) คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลข headline CPI คาดว่าจะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 6.7% (จากเดิม 6.2% ในเดือนกุมภาพันธ์) และ core CPI ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 5.4% (จากเดิม 5.2% ในเดือนกุมภาพันธ์)
  • อัตราการว่างงานของออสเตรเลีย (วันพฤหัสฯ ที่ 14 เม.ย., 0230BST) คาดว่าอัตราการว่างงานของเดือนมีนาคมจะลดลงมาอยู่ที่ 3.9% (จากเดิม 4.0% ในเดือนกุมภาพันธ์)
  • การประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (วันพฤหัสฯ ที่ 14 เม.ย., 1245BST) คาดว่าอัตราดอกเบี้ยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ -0.50% 

คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรจะยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารกลางอังกฤษคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นแตะ 8% ภายในเดือนหน้า ในขณะที่บางคนยังคาดการณ์ต่อว่าเราอาจได้เห็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงถึง 10% ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนี CPI ของสหราชอาณาจักร ในส่วนของ headline inflation จะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 6.7% และ core basis จะอยู่ที่ 5.4%

อัตราเงินเฟ้อ

ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงมีหน้าที่ที่แสนยากลำบากในการรักษาสมดุลของความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว (และพุ่งขึ้นเร็วกว่าที่คาดกันไว้) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบัน สมาชิกระดับบริหารที่เป็น “สายเหยี่ยว” ที่มีแนวคิดให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งในปีนี้ (ทำให้อัตราดอกเบี้ยกลับมาอยู่ที่ 0%) เริ่มจะมีอิทธิพลใน ECB มากขึ้น และเราอาจเห็นการตัดสินใจบางอย่างจากการประชุมครั้งนี้ เช่นการหยุดซื้อสินทรัพย์จากเดิมที่มีกำหนดใน Q3 อาจถูกเลื่อนมาใน Q2 แทน ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นเราก็อาจได้เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นใน Q3/Q4

การตอบสนองของตลาด: 

  • เทรดเดอร์ควรจับตาข้อมูลเงินเฟ้อ, การเติบโตของค่าจ้าง (ในฐานะส่วนหนึ่งของข้อมูลตลาดแรงงาน) และดัชนี CPI ของสหราชอาณาจักร ซึ่งถ้ามีตัวเลขใดที่ออกมาสูงกว่าที่คาดจะเป็นผลบวกต่อ GBP  
  • คาดว่า EUR จะมีความผันผวนในช่วงการประชุมครั้งสำคัญของ ECB ถ้ามีสัญญาณใดๆ ของการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดจะเป็นผลดีต่อ EUR
  • AUD จะได้แรงสนับสนุนจากสัญญาณด้านบวกจากข้อมูลของตลาดแรงงาน


*บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, NFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น