บทนำ

การประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ค่อนข้างเบาบางในสัปดาห์ที่สองของเดือน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อได้กลับมาเป็นปัจจัยที่ต้องจับตากันอีกครั้ง และถึงแม้ว่าดัชนี CPI ของสหรัฐฯ จะเป็นไฮไลต์ที่สำคัญ แต่เราก็ยังต้องจับตาดูข้อมูลอัตราเงินเฟ้อจากจีนและอีกหลายประเทศในลาตินอเมริกาด้วย รวมถึงธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่มีกำหนดการอัปเดตนโยบายการเงินที่สำคัญในสัปดาห์นี้

ปัจจัยที่ควรจับตาในแต่ละภูมิภาค:

●      อเมริกาเหนือ – ดัชนี CPI ของสหรัฐฯ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน, อัตราการว่างงานของแคนาดา

●      ยุโรปและเอเชีย – แม้ว่าการประกาศนโยบายการเงินของ ECB จะเป็นปัจจัยโดดเด่นในสัปดาห์นี้ แต่เราก็ยังต้องจับตามองดัชนี CPI ของจีนด้วย

●      ลาตินอเมริกา – อัตราเงินเฟ้อในชิลี เม็กซิโก และบราซิล

 

ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ:

●      ตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐฯ – สินค้าที่ซื้อขาย (วันอังคารที่ 8 มีนาคม, 1330GMT) ยอดขาดดุลการค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น -$82.0bn ในเดือนมกราคม (จากเดิม -$80.7bn ในเดือนธันวาคม)

●      ตัวเลข JOLTS ของสหรัฐฯ (วันพุธที่ 9 มีนาคม, 1330GMT) คาดว่าตำแหน่งงานว่างจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 10.8 ล้าน (จากเดิม 10.93 ล้านในเดือนธันวาคม) ส่วนอัตราการออกจากงานคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 4.2 ล้าน (จากเดิม 4.3 ล้าน)

●      ดัชนี CPI สหรัฐฯ (พฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม, 1330GMT) อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในส่วนของ headline CPI คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น +7.8% (จากเดิม 7.5% ในเดือนมกราคม) และ core CPI คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.4% (จากเดิม 6.0%)

●      อัตราการว่างงานของแคนาดา (วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม, 1330GMT) อัตราการว่างงานคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 6.3% ในเดือนกุมภาพันธ์ (จากเดิม 6.5%)

●      ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน - prelim (วันอังคารที่ 8 มีนาคม 1500GMT) ดัชนีความเชื่อมั่นคาดว่าจะปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 62.0 ในเดือนมีนาคม (จากเดิม 62.8 ในเดือนกุมภาพันธ์)

 

อัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตาในปฏิทินเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อ headline CPI ประจำเดือนมกราคมพุ่งแตะที่ 7.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1982 โดยนักวิเคราะห์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ headline CPI จะยังคงพุ่งขึ้นต่อเนื่องในเดือนกุมภาพันธ์ไปอยู่ที่ 7.8% ส่วน core CPI คาดว่าจะอยู่ที่ 6.4% แต่ถ้าตัวเลขที่ออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ จะเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อ FOMC ให้มีการปรับไปใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วขึ้น และอาจมีการพิจารณาถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50bps ในเดือนมีนาคม

 

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนมีการปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี ​​2021 และนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขนี้จะยังปรับลดลงต่อในวันศุกร์นี้ ซึ่งการที่ดัชนีความเชื่อมั่นปรับลดลงมาอยู่ที่ 62.0 นั้นคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวลดลงของทั้งดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (ที่ 68.0) และตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อ (ที่ 59.0)

 

การตอบสนองของตลาด:

●      ในสัปดาห์นี้คาดว่าจะมีการซื้อขายค่าเงิน USD กันเป็นหลัก เนื่องจากค่าเงิน USD มีแนวโน้มที่จะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางสถานการณ์การรุกรานยูเครนของรัสเซีย

●      อย่างไรก็ตาม คาดว่าค่าเงิน USD อาจมีความผันผวนในระหว่างที่มีการประกาศตัวเลข CPI ซึ่งถ้าหากตัวเลขออกมาดีกว่าที่คาดก็จะมีโอกาสที่ทำให้ค่าเงิน USD พุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง

●      ค่าเงิน CAD จะตอบสนองต่อตัวเลขอัตราการว่างงานในวันพฤหัสบดี

 

ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย:

●      ตัวเลข GDP ของยูโรโซน – Q4 final (วันอังคารที่ 8 มีนาคม 1000GMT) คาดการณ์ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ +0.3% QoQ

●      ตัวเลข GDP ของญี่ปุ่น – Q4 final (วันอังคารที่ 8 มีนาคม 2350GMT) นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลข GDP จะปรับขึ้นเล็กน้อยเป็น +1.4% QoQ (จาก 1.3% ก่อนหน้านี้)

●      ดัชนี CPI ของจีน (วันพุธที่ 9 มีนาคม, 0130GMT) อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนกุมภาพันธ์เป็น +1.0% (จากเดิม +0.9%)

●      การประกาศนโยบายการเงินของ ECB (วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 1245GMT) คาดว่า ECB จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ไม่เปลี่ยนแปลง โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.0% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ -0.50%

●      ตัวเลข GDP ของสหราชอาณาจักร – MoM เดือนมกราคม (วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 0700GMT) ตัวเลข GDP ประจำเดือนมกราคมคาดว่าจะเป็นบวกที่ +0.3% (หลังจากติดลบ -0.2% ในเดือนธันวาคม)

●      ตัวเลขดุลการค้าของสหราชอาณาจักร (วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 0700GMT) ยอดขาดดุลการค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น -£3.7bn ในเดือนมกราคม (หลังจากขาดดุล -£2.3bn ในเดือนธันวาคม)

●      ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร (วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม เวลา 0700GMT) ตัวเลขการผลิตคาดว่าจะดีขึ้นเป็น +2.4% YoY ในเดือนมกราคม (เพิ่มขึ้นจาก +0.4% YoY ในเดือนธันวาคม)

การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดจะถูกคงไว้ที่ระดับปัจจุบัน (0.0% สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและ -0.50% สำหรับดอกเบี้ยเงินฝาก) อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและสงครามในยูเครนทำให้ ECB ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก

ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นในยุโรปนั้นไม่อาจควบคุมได้ด้วยนโยบายการเงินของ ECB แต่ในรายงานการประชุมครั้งก่อนของคณะกรรมการบริหารแสดงให้เห็นว่ามีจำนวนเสียงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่เห็นว่าควรเริ่มดำเนินการปรับนโยบายการเงินให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของสงครามในยูเครนเป็นสาเหตุเพียงพอที่จะทำให้ ECB จะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ทำให้เราคาดว่าจะได้เห็นแตกแยกภายใน ECB มากขึ้น โดยในตอนนี้ ความเห็นที่แตกต่างเรื่องนโยบายการเงินของ ECB และของธนาคารกลางของสกุลเงินหลักอื่นๆ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าเงิน EUR อ่อนค่าลง

การตอบสนองของตลาด:

●      ค่าเงิน EUR จะมีการตอบสนองอย่างมากต่อการแถลงข่าวของ ECB ในวันพฤหัสบดี

●      ค่าเงิน GBP จะผันผวนในเช้าวันศุกร์จากการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจจำนวนมาก โดยเฉพาะถ้าตัวเลข GDP ออกมาดีกว่าที่คาด จะเป็นแรงหนุนต่อ GBP

 

ข้อมูลสำคัญจากลาตินอเมริกา:

●      ดัชนี CPI ของชิลี (วันอังคารที่ 8 มีนาคม 1100GMT) อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 8.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ (จากเดิม 7.7% ในเดือนมกราคม)

●      อัตราเงินเฟ้อของเม็กซิโก (วันพุธที่ 9 มีนาคม 1200GMT) คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 7.0% ในเดือนกุมภาพันธ์ (จาก 7.1% ในเดือนมกราคม)

●      ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของบราซิล (วันพุธที่ 9 มีนาคม 1200GMT) ตัวเลขการผลิตคาดว่าจะออกมาเป็นบวกที่ +2.0% YoY ในเดือนมกราคม (จาก -5.0% ในเดือนธันวาคม)

●      ตัวเลขยอดค้าปลีกในบราซิล (พฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 1200GMT) ยอดค้าปลีกคาดว่าจะดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนมกราคมเป็น -2.5% ต่อปี (จาก -2.9% ในเดือนธันวาคม)

●      อัตราเงินเฟ้อ IPCA ของบราซิล (วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 1200GMT) อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น +10.79% ในเดือนกุมภาพันธ์ (เพิ่มขึ้นจาก 10.38% ในเดือนมกราคม)

 

อัตราเงินเฟ้อกลับมาเป็นปัจจัยสำคัญอีกครั้งสำหรับภูมิภาคลาตินอเมริกาในสัปดาห์นี้ ด้วยการประกาศตัวเลขทั้งจากชิลี เม็กซิโก และบราซิล โดยแรงกดดันด้านเงินเฟ้อดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในชิลีและบราซิล สิ่งนี้จะเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางกลับมาตอบสนองด้วยนโยบายการเงินที่เข้มงวดยิ่งขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของเม็กซิโกคาดว่าจะยังคงค่อนข้างคงที่ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวเพิ่มจากการคาดการณ์นี้

 

การตอบสนองของตลาด:

●      ค่าเงิน CLP, MXN และ BRL จะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นจากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของชิลี เม็กซิโก และบราซิลตามลำดับในสัปดาห์นี้

 

*บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น