บทนำ
สำหรับในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับสินทรัพย์ต่างๆ จากฝั่งยุโรป แต่อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าตลาดได้มีการเตรียมตัวรับมือรวมถึงได้รวมกระทบที่จะเกิดขึ้นไว้ในราคาสินทรัพย์ไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้หลังที่จากผลการเลือกตั้งออกมาไม่นาน ตลาดอาจจะหันไปสนใจเรื่องอื่นต่ออย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลระดับ Tier 1 จากประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อและข้อมูลเบื้องต้นของ GDP Q1 ของทั้งสหรัฐฯ และยูโรโซน นอกจากนี้ยังมีอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียและภูมิภาคลาตินอเมริกา
ปัจจัยที่ควรจับตาในแต่ละภูมิภาค:
- อเมริกาเหนือ – ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ รวมถึง Advance GDP และ Core PCE
- ยุโรปและเอเชีย – การประกาศอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย และยูโรโซน รวมถึงอัตราการเติบโตของยูโรโซน
ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ:
หลังจากที่เราได้เห็นอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วร่วมกับผลกระทบจากสงครามในยูเครน ทำให้ข้อมูลการเติบโตเบื้องต้นใน Q1 ของ US Advance GDP กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนจับตามองในสัปดาห์นี้ คาดการณ์ตัวเลขเฉลี่ยของนักวิเคราะห์อยู่ที่ +1% (เมื่อเทียบเป็นรายปี) แต่ในครั้งนี้นักวิเคราะห์ค่อนข้างคาดการณ์ตัวเลขไว้แตกต่างกันมากตั้งแต่ +0% จนถึง +2% ส่วนตัวเลขจากโมเดล GDPNow ของ Fed สาขาแอตแลนต้าที่หลายฝ่ายให้ความเชื่อถือคาดว่าการเติบโตจะอยู่ที่ +1.3% ซึ่งถ้าหากตัวเลขจริงที่ออกมาผิดจากที่คาดจะเป็นผลเชิงลบที่กดดันผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (โดยเฉพาะผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาว) ซึ่งนี่อาจส่งผลให้เกิดการขายทำกำไรใน USD ได้
สำหรับข้อมูลเงินเฟ้อ Core PCE inflation คาดว่าตัวเลขยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยคาดว่าตัวเลขจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 5.5% ซึ่งยังคงอยู่ต่ำกว่า core CPI อยู่ 1% แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือสัญญาณที่ว่าจุดสูงสุดของเงินเฟ้ออาจกำลังใกล้เข้ามาแล้ว โดยสัญญาณนี้มาจากการที่ตัวเลข Core CPI ของสหรัฐฯ ออกมาไม่ตรงกับที่ประมาณการกันไว้เมื่อ 2 - 3 สัปดาห์ที่แล้ว
ในส่วนของความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ จาก Conference Board คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลงต่อ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ Michigan Sentiment ที่พุ่งสูงขึ้นเป็น 65.7 ในเดือนเมษายน ทำให้ข้อมูลทั้ง 2 ชุด มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลความเชื่อมั่นที่ออกมามีผลกระทบต่อตลาดลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวเลขที่ออกมาดีกว่าที่คาดกันไว้ก็น่าจะเป็นผลดีต่อ USD
การตอบสนองของตลาด:
- ในสัปดาห์นี้ เทรดเดอร์ที่ซื้อขาย USD มีปัจจัยที่ต้องจับตามากมาย โดยเฉพาะถ้าตัวเลข Advance GDP ออกมาไม่ตรงกับที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลให้ตลาดมีการตอบสนองอย่างรุนแรงมากขึ้น
- ตัวเลข Core PCE อาจส่งผลกระทบไม่มากต่อตลาด เนื่องจากมีการประกาศข้อมูล CPI ออกมาแล้วเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน
ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย:
- ดัชนี CPI ของออสเตรเลีย (วันพุธที่ 27 เมษายน, 0230BST) ตัวเลข Headline inflation สำหรับ Q1 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.7% (จากเดิม 3.5%), โดยค่าเฉลี่ย Trimmed Mean CPI จากธนาคารกลางออสเตรเลียคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.4% (จากเดิม 2.6% ใน Q4)
- นโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (วันพฤหัสฯ ที่ 28 เมษายน, 0400BST) คาดว่านโยบายการเงินของญี่ปุ่นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- ดัชนี Caixin Manufacturing PMI ของจีน (วันศุกร์ที่ 29 เมษายน, 0245BST) คาดว่าตัวเลขของเดือนเมษายนที่ออกมาจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 47.9 (จากเดิม 48.1 ในเดือนมีนาคม)
- ตัวเลข HICP ของยูโรโซน (วันศุกร์ที่ 29 เมษายน, 1000BST) คาดว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อไปในเดือนเมษายน ด้วยข้อมูล headline ที่ 7.5% (จากเดิม 7.4%) และ core inflation เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.0% (จากเดิม 2.9%)
- GDP ของยูโรโซน - flash (วันศุกร์ที่ 29 เมษายน, 1000BST) คาดว่าการเติบโตเบื้องต้นของ Q1 แบบ QoQ จะอยู่ที่ +0.3% (จากเดิม +0.3% ใน Q4 2021)
อัตราเงินเฟ้อและตัวเลขการเติบโตเป็นปัจจัยที่สำคัญในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียใน Q1 จะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.4% (ค่าเฉลี่ยแบบ Trimmed Mean) ซึ่งอยู่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางออสเตรเลียที่ 2% - 3% ตัวเลขนี้จะเพิ่มแรงกดดันต่อธนาคารกลางออสเตรเลียให้ต้องเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย, ในส่วนของยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ทำให้เสียงเรียกร้องของคณะบริหารที่เป็น “สายเหยี่ยว” เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ โดยมีคณะบริหารอย่างน้อย 2 คน ที่เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม ถ้าหากตัวเลข flash GDP ออกมาน่าผิดหวัง ก็อาจทำให้เสียงเรียกร้องของคณะบริหารที่เป็น “สายเหยี่ยว” เงียบลงไปบ้าง
ในส่วนของภูมิภาคอื่นๆ หลังจากเราเห็นอัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นเริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้น (core CPI ที่ +0.8%) แต่ธนาคารกลางญี่ปุ่นก็ยังคงยึดมั่นในนโยบายของตนเอง ด้วยการยืนยันว่าจะมีการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGBs) อย่างไม่จำกัด เพื่อกดดันให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี อยู่ต่ำกว่า 0.25%, โดยธนาคารกลางญี่ปุ่นเชื่อว่า นี่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อรับมือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า (ตามที่ผู้ว่าการคุโรดะกล่าวไว้) ซึ่งมาตรการจะค่อยๆ ลดความเข้มข้นลง เพื่อที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ต่อไป
การตอบสนองของตลาด:
- AUD จะมีการตอบสนอง ถ้าข้อมูล CPI ออกมาผิดจากที่คาด นอกจากนี้เทรดเดอร์ที่ซื้อขาย AUD ก็ควรจับตาข้อมูล Caixin PMI ในวันศุกร์ ในฐานะที่เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงในวงกว้าง.
- EUR จะได้รับแรงหนุนหากตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาดีกว่าที่คาดไว้
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น