บทนำ
หลังจากสัปดาห์ที่เงียบสงบได้ผ่านพ้นไป สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่มีการเริ่มต้นเดือนใหม่ ซึ่งมีข้อมูลระดับ tier 1 มากมายให้ต้องติดตาม โดยมีไฮไลต์อยู่ที่รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ รวมถึงข้อมูล Nonfarm Payrolls และการเติบโตของค่าจ้าง นอกจากนี้ยังมีการประกาศข้อมูลอื่นๆ เช่น ความเชื่อมั่นผู้บริโภค อัตราการเติบโต รวมถึงมาตรการที่ใช้รับมือกับเงินเฟ้อ และสำหรับข้อมูลจากประเทศอื่นนอกจากสหรัฐฯ เทรดเดอร์ควรติดตามข้อมูลเงินเฟ้อจากฝั่งยูโรโซน และตัวเลข PMI ภาคการผลิต ส่วนในฝั่งของลาตินอเมริกาจะมีตัวเลขการจ้างงาน และการประกาศข้อมูลต่างๆ จากธนาคารกลาง
ปัจจัยที่ควรจับตาในแต่ละภูมิภาค:
- อเมริกาเหนือ – ตัวเลข US Nonfarm Payrolls เป็นปัจจัยที่ควรให้สำคัญ, รวมไปถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ, GDP Q4 final, Core PCE (ตัวเลขที่ใช้วัดค่าเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก).
- ยุโรปและเอเชีย – ตัวเลข PMI ภาคการผลิต จากประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซน
ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ:
ข้อมูล Flash PMI ของสัปดาห์ที่แล้วได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมที่ค่อนข้างดี ดังนั้นจึงควรติดตามว่าตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ออกมาในสัปดาห์นี้จะสะท้อนภาพของเศรษฐกิจออกมาในลักษณะใด หลังจากที่ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมิชิแกนปรับตัวลดลงมาเกือบตลอด 1 ปีที่ผ่านมา รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นจาก Conference Board ที่คาดว่าจะปรับลดลงสู่ระดับเดียวกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อีกครั้ง
ตัวเลข ISM Manufacturing ได้ปรับตัวลดลงมาตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา ทำให้ก่อนหน้านี้ มีการคาดกันไว้ว่าตัวเลขของเดือนมีนาคมจะยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงต่อไป อย่างไรก็ตามตัวเลข flash PMI จากสัปดาห์ที่แล้วมีการบ่งชี้ว่าธุรกิจต่างๆ เริ่มมีการมองข้ามสงครามในยูเครนไปแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลจาก ISM ในสัปดาห์นี้ออกมาดีกว่าที่คาดได้
รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ เป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำคัญที่จะมีการประกาศในสัปดาห์นี้ โดยหลังจากที่การจ้างงานเติบโตอย่างแข็งแกร่งในเดือนกุมภาพันธ์ ตัวเลข Headline Nonfarm Payrolls ของเดือนนี้คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 450,000 ตำแหน่ง โดยการสำรวจตัวเลขครั้งล่าสุดในเดือนที่ผ่านๆ มา ช่วยให้สามารถปะติดปะต่อภาพสถานการณ์โดยรวมได้ดีขึ้น ดังนั้นเทรดเดอร์จึงควรจับตาอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับการเติบโตของค่าจ้างซึ่งมีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า 5% มาตั้งแต่เดือนตุลาคม
การตอบสนองของตลาด:
- ในสัปดาห์นี้มีกิจกรรมมากมายในปฏิทินเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาด
- ตัวเลข Nonfarm Payrolls เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ซื้อขายค่าเงิน USD ซึ่งถ้าตัวเลขออกมาอย่างแข็งแกร่ง (การเติบโตของการจ้างงานที่สูงขึ้น การเติบโตของค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น) จะเป็นผลบวกต่อ USD
ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย:
ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ออกมาอาจถูกมองได้ว่าเป็นการปูทางไปสู่ตัวเลขที่ออกมาสวยงามในสัปดาห์นี้ คาดว่าตัวเลขการเติบโตของสหราชอาณาจักรใน Q4 แบบ final จะไม่มีเซอร์ไพรส์ใดๆ ในขณะที่ตัวเลข PMI ภาคการผลิตสำหรับญี่ปุ่น ยูโรโซน และสหราชอาณาจักรล้วนเป็นการประเมินขั้นสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการปรับตัวเลขใดๆ อีก อย่างไรก็ตาม ตัวเลข PMI ของจีนในภาคบริการคาดว่าจะยังคงเดิม ส่วน PMI ภาคการผลิตและทั่วไปอาจปรับตัวลดลง ซึ่งถ้าตัวเลขที่ออกมาแย่กว่าที่คาดจะทำให้เกิดความผันผวนในวงกว้าง
อัตราเงินเฟ้อกลายมาเป็นประเด็นร้อนสำหรับเทรดเดอร์ในขณะนี้ จากการที่ราคาสินค้าต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั่วโลก ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเริ่มมองเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3% เป็นครั้งแรก (สูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ ECB อย่างมีนัยสำคัญ) ซึ่งสิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะไปกระตุ้นผู้กำหนดนโยบายที่เป็นสายเหยี่ยว (เช่น ผู้ว่าการธนาคารกลางเยอรมนีและออสเตรีย) ในบอร์ดบริหารของธนาคารกลางต่างๆ และการที่สถานการณ์เงินเฟ้อดูดีขึ้นมากกว่าที่คาดทั้งในสหราชอาณาจักรและในสหรัฐฯ ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนปรับตัวดีขึ้นแบบเดียวกันก็จะเป็นผลดีต่อค่าเงิน EUR
การตอบสนองของตลาด:
- สภาวะตลาดช่วงนี้เป็นสัญญาณบอกเหตุสำหรับตัวเลข PMI ของจีน ซึ่งการหดตัวของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 2 สองโลก อาจนำไปสู่อคติเชิงลบต่อความเสี่ยงของตลาด
- EUR อาจปรับตัวลงมาอยู่ที่แนวรับถ้าหากเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นกว่าที่คาด
*บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น