บทนำ

สัปดาห์แรกของเดือนจะมีการให้ความสำคัญกับการจ้างงานนอกภาคการเกษตรอยู่เสมอ โดยคาดว่าจะเป็นอีกเดือนที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระดับเทียร์หนึ่งมากมายจากภูมิภาคอื่นๆ ด้วยเช่นกัน 

ซึ่งดัชนี PMI ภาคการผลิตก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลกระทบที่มีต่อตลาดจะถูกจำกัดลง เนื่องจากมีหลายประเทศที่มีการอัปเดตตัวเลขจากการสำรวจครั้งสุดท้าย รวมถึงข้อมูลจาก ISM ของสหรัฐก็อยู่ในความสนใจ ขณะที่ PMI ของจีนก็อาจขับเคลื่อนความเชื่อมั่นในวงกว้างได้ นอกจากนี้เรายังเฝ้าดูอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนที่พุ่งสูงขึ้นด้วย โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไป ซึ่งนี่จะเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับการคาดการณ์ว่า ECB จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย  

ปัจจัยที่ควรจับตา: 

  • อเมริกาเหนือ – ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ, ข้อมูลจาก ISM ในภาคการผลิต และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร รวมถึง GDP ของแคนาดา
  • ยุโรป – มาตรวัดความเชื่อมั่นของยูโรโซน, อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงาน, PMI ภาคการผลิตสุดท้ายของยูโรโซนและสหราชอาณาจักร
  • เอเชีย – การผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดขายปลีกของญี่ปุ่น, PMI ภาคการผลิตของจีน 
  • ลาตินอเมริกา – อัตราการว่างงานในเม็กซิโก ชิลี และบราซิล พร้อมกับ GDP ของบราซิล 

อเมริกาเหนือ

*ตัวเลขคาดการณ์เป็นตัวเลขที่อัปเดตล่าสุดจากนักวิเคราะห์

ดอลลาร์สหรัฐ (USD)

การเติบโตของการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนสิงหาคม คาดว่าจะอยู่ที่ 290,000 ซึ่งก็ถือว่าดีเพียงพออยู่แล้ว แต่ที่ทำให้ดียิ่งไปกว่านั้นคือการต่อหลังจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 500,000 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม (แม้ว่าจะมาพร้อมกับการปรับแก้ตัวเลขที่ลดลงเล็กน้อยก็ตาม) ซึ่งก็น่าจะเพียงพอจะทำให้ Fed มีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อไป และสามารถโฟกัสไปที่การจัดการกับอัตราเงินเฟ้อได้อย่างเต็มที่ (ขณะนี้คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุม FOMC เดือนกันยายน)

เรามีสัญญาณเตือนอยู่บ้างเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่ามุมมองต่อ USD ในด้านบวกของเทรดเดอร์ อาจมาจากการเทรดแบบกระจุกตัว โดยยังคงมีความเสี่ยงที่ค่าเงิน USD อาจจะอ่อนตัวในระยะสั้นในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม จากการที่ Fed ยังคงมีท่าทีที่แข็งกร้าวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอาจมีแรงขาย USD ออกมาในระยะสั้น เราก็ยังคงมองว่านี่เป็นโอกาสสำหรับการซื้อ USD เพิ่มเติมเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

ดอลลาร์แคนาดา (CAD)

การประกาศตัวเลข GDP ของแคนาดาในวันพุธจะเป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งการเติบโตในไตรมาส 2 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.0% พอดิบพอดี ขณะที่ตัวเลขเบื้องต้นสำหรับเดือนกรกฎาคมคาดว่าจะเป็นบวกเล็กน้อยที่ +0.3% (อะไรก็ตามที่สูงกว่าศูนย์คือผลตอบแทนที่ดีแล้วสำหรับตอนนี้) สิ่งนี้จะทำให้ BoC น่าจะมีท่าทีที่เข้มงวดต่อไป และน่าจะช่วยสนับสนุนค่าเงิน CAD ในคู่เงินหลักๆ ด้วย

  • USD/CAD – แนวโน้มมีความผันผวนในช่วงสิบสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเนื่องจากการเคลื่อนไหวเชิงบวกของ USD ที่ลากคู่นี้ให้สูงขึ้นนั้นถูก CAD ดึงกลับลงมาอย่างต่อเนื่อง เราคาดว่าสภาพที่ไม่แน่นอนนี้จะดำเนินต่อไป โดยมีการปรับมุมมองต่อตลาดเล็กน้อย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันต่อแนวต้าน 1.3075

สินค้าโภคภัณฑ์

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพบว่าสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น หลังมีข่าวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเล็กน้อยของจีน อย่างไรก็ตาม แรงฉุดจากเหตุการณ์นี้น่าจะมีอยู่อย่างจำกัด โดยเป็นการวิ่งขึ้นที่เสี่ยงต่อการถูกเทขาย ส่วนภาพกว้างๆ ทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มการเติบโตจะสะดุดลงเนื่องจากท่าทีที่แข็งกร้าวของ Fed ทำให้ราคาของโลหะมีค่าตกอยู่ภายใต้แรงกดดันของการปรับฐาน ในส่วนของราคาน้ำมัน เนื่องจากท่าทีของกลุ่มโอเปกยังคงโน้มเอียงไปทางที่ ไม่สามารถ/ไม่เต็มใจที่จะเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งจะช่วยหนุนราคาน้ำมันขึ้นได้

  • น้ำมันดิบ Brent – ปฏิกิริยาต่อแนวต้านแถว $101.50/$103.50 เป็นกุญแจสำคัญในแนวโน้มระยะใกล้ถึงระยะกลาง หากสามารถพุ่งทะลุแนวต้านได้อย่างเด็ดขาดก็จะเป็นการเปิดช่องให้เคลื่อนไหวไปสู่ระดับ $109 แต่หากราคาปรับตัวลงต่ำกว่า $99.50 จะเป็นการยืนยันการจบการฟื้นตัว
  • ทองคำ – ปฏิกิริยาต่อช่วงแนวต้าน $1754/$1772 จะเป็นกุญแจสำคัญ จากการที่เราเริ่มจะเห็นสัญญาณของการปรับฐานเกิดขึ้น หากราคาไม่สามารถฝ่าแนวต้านดังกล่าวได้จะเป็นการเพิ่มแรงกดดันขาลงต่อแนวรับที่ $1727
  • โลหะเงิน – ปฏิกิริยาต่อช่วงแนวต้าน $19.38/$19.54 จะเป็นตัวกำหนดทิศทางต่อไป ถ้าหากว่ราคาไม่สามารถฝ่าแนวต้านไปได้ แสดงว่าโมเมนตัมขาขึ้นในระยะสั้นไม่ได้แข็งแกร่งนัก และอาจทำให้มีแรงขายกดลงมาที่ $18.71 ได้

ตลาดหุ้นสหรัฐ

จากการที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรมีแนวโน้มสูงขึ้น และการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกิดแรงกดดันในการปรับฐานของหุ้นสหรัฐ

  • S&P 500 futures – ปฏิกิริยาต่อกรอบการซื้อขายที่ 4170/4200 ซึ่งเป็นฐานของแนวต้านและแนวโน้มการปรับฐานรอบใหม่ที่อาจเกิดขึ้น จะเป็นกุญแจสำคัญในสัปดาห์นี้ ความสำคัญของแนวรับที่ 4110 มีมากขึ้น รวมถึง 4080 ที่เป็นแนวสำคัญเช่นกัน
  • NASDAQ 100 futures – ถ้าหากโมเมนตัมขาขึ้นครั้งนี้ไม่สามารถทำให้เกิดการยก lower high ขึ้นได้ แปลว่าแนวโน้มการปรับฐานจะยิ่งมีกำลังมากขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยมีแนวรับที่ควรจับตาอยู่ที่ 12825
  • Dow futures – การดึงกลับเพื่อออกจากแนวรับที่ 32750 มีความเสถียรแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าโมเมนตัมขาขึ้นครั้งนี้ล้มเหลวและเกิดการสร้าง lower high ขึ้น การปรับฐานก็อาจเกิดขึ้นได้อีกครั้ง

เอเชีย:

*ตัวเลขคาดการณ์เป็นตัวเลขที่อัปเดตล่าสุดจากนักวิเคราะห์

เยนญี่ปุ่น (JPY)

ถึงแม้ว่า Yield spreads จะขยายกว้างขึ้น แต่เงินเยนยังคงทำผลงานได้ดี (โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ EUR และ GBP) เนื่องจากสถานการณ์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของเงินเยน โดยเฉพาะกรณีที่เทรดเดอร์ยังคงกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตเชิงลบในยุโรป (ทั้งยูโรโซนและสหราชอาณาจักร) เช่นนี้แล้ว JPY จะทำผลงานได้ดี

  • USD/JPY – การทรงตัวเหนือช่วง 135.30/135.60 ช่วยรักษามุมมองในเชิงบวก การขยับขึ้นเหนือ 137.70 จะเปิดทางสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ 139.40 อีกครั้ง 
  • AUD/JPY – ความแข็งแกร่งของ AUD ได้ดึงคู่นี้ไปทดสอบแนวต้านที่ 95.30/95.75 อีกครั้ง การขยับสูงขึ้นอย่างเด็ดขาดจะเปิดทางสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ 96.88 อีกครั้ง ความสำคัญของแนวรับที่ 93.05 เริ่มมีมากขึ้น

ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)

เนื่องจาก PMI ภาคการผลิตของออสเตรเลียเป็นเพียงการปรับแก้ตัวเลขขั้นสุดท้าย จึงมีสองประเด็นที่ต้องพิจารณาในสัปดาห์นี้ ประการแรกคือ AUD จะสามารถรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนได้หรือไม่ (ซึ่งเราไม่แน่ใจ) และประการที่สองคือ จะมีการ Short Squeeze เกิดขึ้นใน USD หรือไม่ แต่โดยรวมแล้ว AUD ยังคงอยู่ในจุดที่ดีกว่าสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ 

  • AUD/USD – จากมุมมองในด้านบวกที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ช่วยรักษาแนวโน้มระยะกลางที่เป็นกลางไว้ได้ การขยับขึ้นเหนือ 0.7040 จะทำให้แนวโน้มระยะสั้นดีขึ้นอีก แนวรับที่ 0.6855/0.6875 จะแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD)

เนื่องจากไม่มีข้อมูลสำคัญสำหรับนิวซีแลนด์ ค่าเงิน NZD จะเคลื่อนไหวตามแนวโน้ม AUD เสียเป็นส่วนใหญ่

  • NZD/USD – เงินนี้เริ่มนิ่งมากขึ้นแล้ว หลังจากที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีจุดที่สามารถมองเป็นแนวต้านได้อยู่ที่ 0.6245/0.6300 ซึ่งจำเป็นจะต้องข้ามไปให้ได้เพื่อสร้างโมเมนตัมของการฟื้นตัวอีกครั้ง และแนวรับที่ 0.6165 เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นมีมากขึ้น

 

*บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น