สัปดาห์แรกของเดือนมักจะอัดแน่นไปด้วยข้อมูลเทียร์หนึ่งเสมอ เนื่องจากเป็นสัปดาห์แรกแบบเต็มๆ จึงจัดหนักตั้งแต่ต้นด้วย PMI และไปพีคสุดที่รายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่สำคัญของสหรัฐ 

สำหรับที่อื่น การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) จะมีความสำคัญเนื่องจากธนาคารกลางตอบสนองต่อความวุ่นวายในตลาดการเงินในปัจจุบัน สำหรับลาตินอเมริกา ทั้งหมดทั้งมวลเป็นเรื่องของเงินเฟ้อ

คอยจับตาดู: 

  • อเมริกาเหนือ – การจ้างงานนอกภาคการเกษตรและแบบสำรวจจาก ISM พร้อมกับอัตราการว่างงานของแคนาดา
  • ยุโรป – PMI สุดท้ายและยอดขายปลีกของยูโรโซน
  • เอเชีย – อัตราดอกเบี้ยจาก RBA และ RBNZ
  • ลาตินอเมริกา – อัตราเงินเฟ้อ CPI สำหรับโคลัมเบีย เม็กซิโก และชิลี

อเมริกาเหนือ

การคาดการณ์จาก N.B. เป็นฉันทามติล่าสุดที่มี 

ดอลลาร์สหรัฐ (USD)

ด้วยความผันผวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในตลาดตราสารหนี้และตลาดฟอเร็กซ์หลัก การจะบอกถึงทิศทางจึงเป็นเรื่องยากในขณะนี้ โดยพื้นฐานแล้ว ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะยังคงแข็งค่าต่อไป ความผันผวนในระยะสั้นและการคลายตัวจากสถานะที่มีการซื้อมากเกินไปที่อาจเกิดขึ้นคือความเสี่ยงในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เราจะยังคงใช้จุดอ่อนระยะสั้นของ USD เพื่อเป็นโอกาสในการซื้อ

แบบสำรวจจาก ISM และการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในสัปดาห์นี้จะเป็นเหตุการณ์ความเสี่ยงที่สำคัญ ไม่มีสัญญาณสำคัญบ่งบอกว่าความตึงตัวของตลาดแรงงานสหรัฐเริ่มอ่อนลง การเติบโตของงานคาดว่าจะสูงกว่า 200,000 ในขณะที่การเติบโตของค่าจ้างยังคงอยู่ในระดับสูงที่มากกว่า 5% และการว่างงานต่ำที่ 3.7% ดังนั้นเฟดจะยังคงกระชับอัตราดอกเบี้ยอย่างดุดันต่อไป

ดอลลาร์แคนาดา (CAD)

แรงเสี่ยงลงทุนติดลบส่งผลกระทบอย่างมากต่อสกุลเงินที่มีรายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการส่งออกสินค้า CAD มีความผันผวนเนื่องจากการแกว่งตัวของแรงเสี่ยงลงทุนที่สำคัญได้เข้ายึดครองตลาดหลักในสัปดาห์ที่ผ่านมา หากความเชื่อมั่นสามารถลงหลักปักฐานและมีการปรับปรุงดีขึ้น แสดงว่าอาจมีโอกาสสำหรับการรีบาวด์ระยะสั้นในสถานะของ CAD การรีบาวด์ของน้ำมันอย่างต่อเนื่องก็ช่วยได้เช่นกัน

  • USD/CAD – คู่นี้ขึ้นๆ ลงๆ จากความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อโมเมนตัมยืดออกไป ก็มีโอกาสสำหรับการดึงกลับในระยะสั้น ปฏิกิริยาต่อแนวรับระยะสั้นที่ 1.3600 จะเป็นกุญแจสำคัญในสัปดาห์นี้ การทะลุลงต่ำอย่างชัดเจนจะหมายถึง c. 1.3350 แนวต้านที่ 1.3830 เป็นกุญแจสำคัญในตอนนี้

สินค้าโภคภัณฑ์

การวิ่งขึ้นทางเทคนิคในระยะสั้นของโลหะมีค่าและน้ำมันทำให้สินค้าโภคภัณฑ์อยู่ ณ จุดเปลี่ยนที่สำคัญในสัปดาห์นี้ หากผลตอบแทนตราสารหนี้ของสหรัฐลดลง สิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นการวิ่งขึ้นในระยะสั้นของโลหะมีค่า เช่น ทองคำและโลหะเงิน แต่ถ้าหากความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการกระชับนโยบายการเงินโผล่กลับมาอีกครั้ง ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจะหมายถึงการสะดุดลงของการวิ่งขึ้นในโลหะมีค่า มีการพูดคุยของนักวิเคราะห์ที่ชี้ว่า OPEC+ อาจกำหนดให้มีการลดกำลังการผลิตลงอย่างมีนัยสำคัญเพื่อชดเชยการลดลงของราคา หากสิ่งนี้เริ่มเห็นได้จากรัฐมนตรีของ OPEC+ ก็อาจกระตุ้นให้เกิดการรีบาวด์ในน้ำมันมากขึ้น 

  • น้ำมันดิบเบรนท์ – การทะลุอย่างชัดเจนเหนือ $90 จะเป็นการเปิดทางให้การวิ่งขึ้นทางเทคนิคในระยะสั้นยังคงดำเนินต่อไปในแนวต้านระยะกลางที่สำคัญแถว $93.25/$96.60 นอกจากนี้ยังนำมาซึ่้งการทดสอบแนวโน้มขาลงเกือบสี่เดือนด้วย เรายังคงเห็นด้วยกับการขายเมื่อเด้งขึ้น ดังนั้นจึงควรมองหาความล้มเหลวของกระทิง
  • ทองคำ – อุปทานด้านบนแถว $1680/$1697 เป็นจุดทดสอบสำคัญถัดไปและตลาดได้มีการฟื้นตัวในระยะสั้น เราเห็นด้วยกับการขายเมื่อเด้งขึ้นแต่ถ้าตลาดสามารถกลับขึ้นไปเหนือ $1697 ได้ก็จะเป็นการขยายช่วงการรีบาวด์
  • โลหะเงิน – เนื่องจากการฟื้นตัวจากการขยับต่ำลงอย่างรวดเร็วดำเนินต่อไป แนวโน้มการทดสอบแนวโน้มขาลง 5 เดือนก็เพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ เรามองว่าการวิ่งขึ้นในระยะสั้นไปที่แนวต้านยังคงเป็นโอกาสในการขาย แต่จะรอดูว่าการเคลื่อนไหวนี้มีผลออกมาในรูปแบบใดก่อน แนวต้านที่ $20.00 ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ

Wall Street

เนื่องจากไม่มีการประกาศของบริษัท วอลล์สตรีทยังคงอยู่ในกำมือของความเชื่อมั่นในตลาดในวงกว้างและตลาดตราสารหนี้ หากอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นจะบ่งบอกถึงความกลัวอย่างต่อเนื่องต่อการกระชับของธนาคารกลางและผลกระทบจากภาวะถดถอย ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น วอลล์สตรีทอยู่แนบชิดกับการขายมากเกินไปและน่าจะได้เห็นการวิ่งขึ้นทางเทคนิค แต่เรากลับยังคงมองว่าการวิ่งขึ้นเป็นแค่โอกาสในการขาย 

  • ฟิวเจอร์ส S&P 500 – การวิ่งขึ้นยังคงดิ้นรนหาแรงฉุด อย่างไรก็ตาม ยิ่งแนวรับ 3613/3639 มั่นคงนานเท่าใด โอกาสการรีบาวด์ระยะสั้นก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น การขยับขึ้นเหนือ 3750 อย่างชัดเจนจะเป็นการเปิดทางกลับไปทางแนวต้านโดยเริ่มต้นแถว 3885
  • ฟิวเจอร์ส NASDAQ 100 – แนวรับระดับต่ำสุดเดือนมิถุนายนที่ 11070 ยังคงอยู่ แต่ผู้ซื้อกำลังดิ้นรนเพื่อรักษาการฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม หากสามารถขยับขึ้นเหนือ 11610 ได้ก็จะเปิดให้มีการฟื้นตัวที่มากขึ้น ใต้ 11070 เปิด 10655
  • ฟิวเจอร์ส Dow – ได้ทำลายแนวรับต่ำสุดเดือนมิถุนายนที่ 29635 แล้ว แต่การสร้างฐานที่ลุ่มๆ ดอนๆ เหนือ 28880 ทำให้มีโอกาสที่ราคาจะเกิดการวิ่งขึ้นทางเทคนิคจากการขายมากเกินไปในระยะสั้น ปฏิกิริยาต่อแนวต้านที่ 239880 จะมีความสำคัญในสัปดาห์นี้

เอเชีย:

การคาดการณ์จาก N.B. เป็นฉันทามติล่าสุดที่มี 

เยนญี่ปุ่น (JPY)

JPY มีผลงานที่ไม่ดีมานานหลายเดือนแล้วเนื่องจากการยึดมั่นในการโอนอ่อนของธนาคารกลางญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ด้วยความผันผวนสูงของตลาดตราสารหนี้ในปัจจุบัน เทรดเดอร์ไม่ได้วางสถานะในส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย แต่อยู่ที่การเอนเอียงไปทางสินทรัพย์ปลอดภัยเสียมากกว่า สิ่งนี้ได้ขับเคลื่อนให้ JPY ฟื้นตัว หากยังคงดำเนินต่อไปในสัปดาห์นี้ด้วย JPY จะยังคงทำผลงานได้ดี หากแรงเสี่ยงลงทุนเพิ่มขึ้นและความผันผวนลดลง เราคาดว่า JPY จะกลับไปมีผลงานที่ไม่ดีอีกครั้ง

  • USD/JPY – ตลาดมีความผันผวนตั้งแต่มีการเข้าแทรกแซงสกุลเงินญี่ปุ่น แต่แนวต้านแถว 144.90/145.90 ยังคงแข็งแกร่ง หากแนวต้านนี้ยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งสัปดาห์นี้ โอกาสเกิดการดึงลงต่ำในระยะสั้นไปทางแนวรับเริ่มต้นที่ 141.60 จะเพิ่มขึ้น 
  • AUD/JPY – คู่นี้อยู่ในช่วงการเทรดที่ผันผวนมากขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา แรงเสี่ยงลงทุนเชิงบวกที่มากขึ้นจะเอื้อต่อการเคลื่อนไหวขาขึ้น แต่มีแนวต้านแถว 94.00/94.20 ที่จะต้องผ่านไปให้ได้ การปิดเหนือนั้นจะช่วยให้มีการฟื้นตัวไปทาง 95.30/95.70

ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)

ในสภาพแวดล้อมการเทรดที่เลี่ยงความเสี่ยง AUD อยู่ภายใต้ความตึงเครียดอย่างมาก จุดโฟกัสในสัปดาห์นี้หันไปที่การประชุม RBA ล่าสุด โดยคาดว่าจะขึ้นอีก +50 จุด โดยช่วงนี้ RBA เริ่มไม่ค่อยดุดันเท่าใดนัก และเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะได้รอดูว่าแนวโน้มจะคงดำเนินต่อไปเช่นนี้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีความวุ่นวายในตลาดล่าสุด

  • AUD/USD – การขยับขึ้นเหนือแนวต้านที่ 0.6530 จะเปิดทางให้ฟื้นตัว การฟื้นตัวไปยังแนวต้านช่วง 0.6670/0.6770 อาจตามมาหลังจากนั้น แต่เรายังคงเห็นด้วยกับการใช้การวิ่งขึ้นระยะสั้นเป็นโอกาสในการขาย

ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD)

กีวียังคงประสบปัญหาควบคู่ไปกับ AUD เนื่องจากเป็นสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงกว่า การปรับขึ้น +50 จุดเป็น 3.50% ของ RBNZ จะเป็นการสนับสนุน NZD ในสถานการณ์ปกติทั่วไป อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สภาพแวดล้อมการเทรดตามปกติ และเทรดเดอร์จะต้องคิดคำนวณว่า RBNZ ยินดีที่จะปรับขึ้นอีกมากเพียงใด เบาะแสการโอนอ่อนใดๆ อาจทำร้าย NZD มากยิ่งขึ้น

NZD/USD – มีโอกาสสำหรับการวิ่งขึ้นทางเทคนิคในระยะสั้นที่ดูคุกคาม มีสถานะการขายที่มากเกินไปให้คลี่คลายใน RSI  การปิดเหนือ 0.5755 อย่างชัดเจนจะเป็นการเปิดทางให้ฟื้นตัวไปทาง 0.5870/0.5930


*บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น