บทนำ
ปกติแล้วสัปดาห์แรกของเดือนจะเป็นสัปดาห์ที่สับสนวุ่นวาย แต่สัปดาห์แรกของเดือน ก.พ. นี้อาจวุ่นวายมากกว่าปกติ ด้วยกำหนดการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจระดับ Tier 1 หลายตัวในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะแถลงการจากธนาคารกลางชั้นนำถึง 3 แห่ง ที่ทำให้เทรดเดอร์ต้องติดตามชนิดห้ามกระพริบตา นอกจากนี้ยังมีตัวเลข PMI surveys และตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐอีกด้วย
ข้อมูลที่ควรจับตา:
- ภูมิภาคอเมริกาเหนือ – ตัวเลข GDP ของแคนาดา, ข้อมูลจากจาก ISM และตัวเลข Nonfarm Payrolls
- ยุโรปและเอเชีย – ข้อมูลดัชนี PMI, ข้อมูลเงินเฟ้อของ Eurozone และการแถลงของธนาคารกลางชั้นนำ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกลางออสเตรเลีย, ธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารกลางยุโรป
- ละตินอเมริกา – การประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางบราซิล
ข้อมูลสำคัญจากภูมิภาคอเมริกาเหนือ:
- ตัวเลข GDP ของแคนาดา (วันอังคารที่ 1 ก.พ., 1330GMT) ตัวเลข GDP ประจำเดือนพฤศจิกายน คาดว่าจะเพิ่มขึ้น +0.3% (เทียบกับ +0.8% ในเดือนตุลาคม)
- ISM Manufacturing (วันอังคารที่ 1 ก.พ., 1500GMT) คาดการณ์กันว่าตัวเลขจะลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 58.3 (เทียบกับ 58.7 ในเดือนธันวาคม)
- การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ (วันพุธที่ 2 ก.พ., 1315GMT) ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานในเดือนมกราคมคาดว่าจะอยู่ที่ 250,000 (จากเดิม 807,000)
- ยอดคำสั่งซื้อจากโรงงานสหรัฐ (วันพฤหัสที่ 3 ก.พ., 1500GMT)
- ดัชนี ISM Services (วันพฤหัสที่ 3 ก.พ., 1500GMT)
- Nonfarm Payrolls (วันศุกร์ที่ 4 ก.พ., 1330GMT). ตัวเลขการจ้างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาเป็น 238,000 (เพิ่มขึ้นจาก 199,000 ในเดือนธันวาคม)
- ตัวเลขการว่างงานของแคนาดา (วันศุกร์ที่ 4 ก.พ., 1330GMT) คาดว่าตัวเลขจะเพิ่มเล็กน้อยมาอยู่ที่ 6.0% (จาก 5.9% ในเดือนธันวาคม)
ดัชนี PMI เป็นตัวเลขสำคัญที่เทรดเดอร์ควรจับตามอง เพราะเป็นข้อมูลที่สะท้อนภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศล่วงหน้า โดยข้อมูล PMI จัดทำขึ้นโดยสถาบัน ISM ของสหรัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เทรดเดอร์, นักลงทุน และนักวิเคราะห์ทั่วโลกต่างจับจ้องชนิดไม่กระพริบตา โดยคาดการณ์ว่าดัชนี ISM Manufacturing จะยังคงสะท้อนการเติบโตที่แข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมที่ตัวเลขระดับ 50 ปลายๆ (ถึงแม้ว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมกราคมจะลดลงมาเล็กน้อย อยู่ที่ 58.3) ส่วนคาดการณ์ของดัชนี ISM Services ที่ครอบคลุมเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆ คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับ 60 ต้นๆ ซึ่งถ้าตัวเลขออกมาตามที่คาดการณ์กันไว้ จะสะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐในเดือนมกราคมว่ายังคงแข็งแกร่ง แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่างในช่วง ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ จะมีการประกาศตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานในสหรัฐ ทั้ง ADP Employment ที่คาดการณ์ว่าตัวเลขของเดือนมาราคมจะกลับสู่สภาวะปกติที่ 250,000 หลังจากที่ในเดือนที่แล้ว เราเห็นตัวเลขแปลกๆ มาจาก ADP (ตัวเลขสูงถึง 807,000 เทียบกับยอด Nonfarm Payrolls ของเดือนที่แล้ว อยู่ที่ 199,000) โดยในเดือนนี้ เราคาดว่าตัวเลขจาก ADP และ Nonfarm Payrolls จะออกมาใกล้เคียงกันมากขึ้น โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการของ Nonfarm Payrolls คาดว่าจะอยู่ที่ 238,000 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของเชื้อโควิด 19 อยู่อย่างน้อย 1% ซึ่งตัวเลขการเติบโตของตำแหน่งงานที่ลดลงเป็นผลมาจากการลดลงของแรงงานในระบบ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอัตราการว่างงานที่ 3.9% ได้กลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ที่สะท้อนถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในสหรัฐ ถึงแม้การเติบโตของอัตราค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นถึง 5.1% ซึ่งภาวะเหล่านี้สะท้อนถึงภาพตลาดแรงงานที่ตึงตัวและแรงกดดันด้านราคา
การตอบสนองของตลาด Market Reaction:
- USD ยังคงแข็งค่าโดยเฉพาะถ้ามีเซอร์ไพรส์ในทางบวกจากจากข้อมูลของ ISM, ในส่วนของตัวเลข payrolls หากตำแหน่งงานและการเติบโตของค่าจ้างที่ออกมาดีกว่าที่คาดกดดันให้ Fed ต้องเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ยิ่งส่งผลบวกให้ USD แข็งค่ายิ่งขึ้น
- CAD จะตอบสนองต่อตัวเลข GDP และอัตราการว่างงาน หากตัวเลขออกมาดีกว่าที่คาดจะส่งผลให้ CAD แข็งค่ามากขึ้น
ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย:
- ตัวเลข GDP ของ Eurozone (วันจันทร์ที่ 31 ม.ค., 1000GMT) ตัวเลข Flash Q4 GDP คาดว่าจะเพิ่มขึ้น +0.6% QoQ (+2.2% ใน Q3)
- ประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย (วันอังคารที่ 1 ก.พ., 0330GMT) คาดว่าธนาคารกลางออสเตรเลียยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ +0.1% เหมือนเดิม
- Eurozone Manufacturing PMI - final (วันอังคารที่ 1 ก.พ., 0900GMT) นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตัวเลข final PMI ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ 59.0
- UK Manufacturing PMI - final (วันอังคารที่ 1 ก.พ., 0930GMT) final PMI ของอังกฤษคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 57.6 (จากตัวเลขตอนแรกที่ 56.9)
- อัตราเงินเฟ้อของ Eurozone (วันพุธที่ 2 ก.พ., 1000GMT) คาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมกราคมจะยังคงเดิมที่ +5.0% แต่ตัวเลข core inflation คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ +2.7% (เพิ่มขึ้นจาก +2.6% ในเดือนธันวาคม)
- Eurozone Services PMI - final (วันพฤหัสที่ 3 ก.พ., 0900GMT)
- UK Services PMI - final (วันพฤหัสที่ 3 ก.พ., 0930GMT)
- Bank of England monetary policy (วันพฤหัสที่ 3 ก.พ., 1200GMT)
- European Central Bank monetary policy (วันพฤหัสที่ 3 ก.พ., 1200GMT)
อัตราเงินเฟ้อของ Eurozone คาดว่าจะยังอยู่ในระดับเท่าเดิม ขณะที่ core inflation มีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ธนาคารกลางยุโรปกังวลพอสมควร และควรจับตามองตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมัน ที่อาจส่งผลต่อทั้ง Eurozone ในฐานะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป
นอกจากนี้ยังมีธนาคารกลางอีก 3 แห่ง ที่จะมีการแถลงนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนที่สูงขึ้น เริ่มจากธนาคารกลางออสเตรเลีย ซึ่งผลจากตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เราเชื่อว่าธนาคารกลางออสเตรเลียกำลังจะเคลื่อนไหว หรืออย่างน้อยที่สุด ส่งสัญญาณว่าจะเคลื่อนไหวในเร็วๆนี้ ถึงแม้เราจะคาดการณ์ว่าจะยังไม่มีมาตรการใดๆออกมาในตอนนี้ แต่น่าจะมีการพูดถึงหรือส่งสัญญาณถึงมาตรการต่างๆในการแถลงสัปดาห์นี้ โดยคุณ Lowe ประธานธนาคารกลางออสเตรเลียได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่ามีแค่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะยาวเท่านั้น ที่มีน้ำหนักพอจะนำไปสู่การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในปี 2024 โดยเขาไม่รับปากถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 นี้ แต่ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น จะเป็นผลบวกกับค่าเงิน AUD
ในส่วนของธนาคารกลางอังกฤษ เราคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย +0.25 basis points (ปรับขึ้นมาเป็น 0.50%) โดยเทรดเดอร์ทั่วโลกต่างจับตากันว่ามติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะออกมาเป็นเอกฉันท์ขนาดไหน นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อและตัวเลขคาดการณ์การเติบโตยังเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความแข็งแกร่งของค่าเงิน GBP ถ้ามีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดกันไว้ แต่อย่างไรก็ตาม หากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกิดขึ้นตามที่คาด จะส่งผลลบต่อค่าเงิน GBP อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และยังมีธนาคารกลางยุโรปที่มีกำหนดแถลงการณ์ในวันพฤหัสนี้เช่นกัน เราคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆเกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ต้องติดตามอยู่ที่มาตรการต่างๆที่ถูกนำมาใช้รับมือกับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งตลาดมีการคาดการณ์กันถึงการใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วง 12 เดือนต่อจากนี้
การตอบสนองของตลาด:
- ค่าเงิน AUD มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น หากธนาคารกลางออสเตรเลียมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายผ่อนปรนที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
- ค่าเงิน GBP อาจผันผวนจากการที่ธนาคารกลางอังกฤษมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่คาดกันไว้
- ค่าเงิน EUR คาดว่าจะมีความผันผวนสูงขึ้นจากการแถลงของธนาคารกลางยุโรป
ข้อมูลสำคัญจากละตินอเมริกา:
- ประกาศตัวเลขการว่างงานของโคลอมเบีย (วันจันทร์ที่ 31 ม.ค., 1500GMT)
- ดัชนี Manufacturing PMI ของบราซิล (วันอังคารที่ 1 ก.พ., 1300GMT)
- ประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางบราซิล (วันพุธที่ 2 ก.พ.) คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก +150bps ขึ้นไปสู่ 10.75% (จากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่ 9.25%)
- ดัชนี Consumer Confidence ของเม็กซิโก (วันพฤหัสที่ 3 ก.พ., 1200GMT)
คาดว่า ธนาคารกลางบราซิล จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในสัปดาห์นี้ จากการที่ตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งสูงถึง 10% (ข้อมูลจากการประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) พร้อมกับการใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการพุ่งขึ้นของราคาสินค้า ถึงแม้เราจะเห็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงจนน่าตกใจ แต่ค่าเงินเรอัลของบราซิลยังคงทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงแม้จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับความแข็งแกร่งของเงินดอลล่าร์ก็ตาม ซึ่งค่าเงินเรอัลของบราซิลยังคงต้องพยายามอย่างหนักในการรักษาเสถียรภาพแบบนี้ภายใต้มาตรการเข้มงวดที่ยังคงดำเนินต่อไป
การตอบสนองของตลาด
- ค่าเงิน BRL ยังคงต้องพยายามอย่างหนักในการรักษาเสถียรภาพหากธนาคารกลางบราซิลยังคงส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องถึงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในอนาคต