บทนำ

หลังจากมีการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจระดับ Tier 1 มากมายในสัปดาห์ที่แล้ว ในสัปดาห์นี้ปฏิทินทางเศรษฐกิจก็ดูจะเงียบเหงาลงไปเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ข้อมูล PMI จากประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ต่างๆ จะช่วยสะท้อนภาพเชิงลึกของแนวโน้มการเติบโตใน Q2 ควบคู่ไปข้อมูลเงินเฟ้อจากประเทศชั้นนำอื่นๆ

ปัจจัยที่ควรจับตาในแต่ละภูมิภาค:

  • อเมริกาเหนือ – ข้อมูลที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ, ข้อมูล CPI ของแคนาดา และ Flash PMI สหรัฐฯ
  • ยุโรปและเอเชีย – อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีน, อัตราเงินเฟ้อของนิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น และยูโรโซน, flash PMIs ของญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, ยูโรโซนและสหราชอาณาจักร  



ข้อมูลสำคัญจากอเมริกาเหนือ: 

อัตราเงินเฟ้อดูจะกลายมาเป็นปัญหาที่หนักหนามากขึ้นสำหรับธนาคารกลางแคนาดา (รวมถึงประเทศอื่นๆ) ซึ่งจากการอัปเดตนโยบายการเงินครั้งล่าสุด ได้มีการคาดการณ์ว่าโน้มเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลข CPI ของแคนาดาคาดว่าจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6% ในครึ่งปีแรกของปี 2022 และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 5.9% (จากเดิม 5.7%) ซึ่งความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้

ส่วนตัวเลข Flash PMI ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่สามารถสะท้อนภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้สะท้อนภาพของอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงความกลัวที่ว่าสงครามในยูเครนอาจกระทบต่อการบริโภคในภาพรวม โดยตัวเลข PMI น่าจะมีขยายตัวที่ลดลงใน Q2 ทำให้เราอาจได้เห็นผลกระทบจากเรื่องนี้สะท้อนออกมาใน US flash Composite PMI ที่คาดว่าปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 57.0 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงภาพของ GDP ใน Q2 ที่ยังคงแข็งแกร่ง ถึงแม้ว่าตัวเลขที่ออกมาน่าจะต่ำกว่าที่คาดไว้เล็กน้อยที่ 1.8% ต่อปีใน Q1

Chart, histogram

Description automatically generated

การตอบสนองของตลาด: 

  • คาดว่าข้อมูลที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อ USD มากนัก แต่ flash PMI เป็นสิ่งที่ต้องจับตา ถ้าหากตัวเลขที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ย่อมเพิ่มความเสี่ยงในทางลบต่อ USD   
  • CAD จะได้รับแรงสนับสนุน หากตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสูงกว่าที่คาด 


ข้อมูลสำคัญจากยุโรปและเอเชีย: 

  • อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีน (วันพุธที่ 20 เมษายน, 0215BST) คาดว่าอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ของเงินกู้อายุ 1 ปี จะยังคงเดิมที่ 3.7% 
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน (วันพุธที่ 20 เมษายน, 1000BST) คาดว่าตัวเลขการผลิตของเดือนกุมภาพันธ์จะปรับตัวสูงขึ้น +0.8% MoM (หลังจากที่ไม่มีการเติบโตในเดือนมกราคม ทำให้ตัวเลขการเติบโต YoY กลับมาเป็นบวกอีกครั้งที่ +0.8% จากเดิม -1.3%) 
  • ดัชนี CPI ของนิวซีแลนด์ (วันพุธที่ 20 เมษายน, 2345BST) อัตราเงินเฟ้อใน Q1 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 2.0% 
  • อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน - final (วันพฤหัสฯ ที่ 20 เมษายน, 1000BST) อัตราเงินเฟ้อ final คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากการอ่านค่าในเดือนมีนาคม ที่ headline CPI อยู่ที่ 7.5% และ core inflation อยู่ที่ 3.0% 
  • ตัวเลข flash PMI ของออสเตรเลีย (วันศุกร์ที่ 22 เมษายน, 0000BST) คาดว่าตัวเลข PMI ของทั้งภาคการผลิต และภาคบริการจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย ทำให้ดัชนี Composite PMI ของเดือนเมษายนคาดว่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ 54.3 (จากเดิม 55.1 ในเดือนมีนาคม) 
  • ตัวเลข CPI ของญี่ปุ่น (วันศุกร์ที่ 22 เมษายน, 0030BST) คาดว่า Core inflation จะปรับตัวสูงขึ้น +0.8% ในเดือนมีนาคม (จากเดิม +0.6%) 
  • flash PMI ของญี่ปุ่น (วันศุกร์ที่ 22 เมษายน, 0130BST) นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลข Composite PMI จะปรับตัวลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ 48.6 ในเดือนเมษายน (จากเดิม 49.3)  
  • ยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักร (วันศุกร์ที่ 22 เมษายน, 0700BST) ตัวเลข Core sales (ex-fuel) คาดว่าจะอยู่ที่ +0.4% ในเดือนมีนาคม (จากเดิม -0.7% ในเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งคาดว่าจะดึงให้ยอดค้าปลีก YoY ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ +1.6% (จากเดิม +4.6% ในเดือนกุมภาพันธ์)   
  • ตัวเลข flash PMIs ของยูโรโซน (วันศุกร์ที่ 22 เมษายน, 0900BST) นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขในเดือนเมษายนจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยทั้งภาคการผลิต (56.2 จากเดิม 56.5) และภาคบริการ (55.0 จากเดิม 55.6) ทำให้คาดว่า Composite PMI ในเดือนเมษายนจะอยู่ที่ 54.2 (จากเดิม 54.9 ในเดือนมีนาคม) 
  • ตัวเลข flash PMI ของสหราชอาณาจักร (วันศุกร์ที่ 22 เมษายน, 0930BST) คาดว่าตัวเลขในเดือนเมษายนจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยทั้งภาคการผลิต (54.8 จากเดิม 55.2) และภาคบริการ (62.1 จากเดิม 62.6) ทำให้คาดว่า Composite PMI ในเดือนเมษายนจะอยู่ที่ 59.6 (จากเดิม 60.9)

คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจากทั้งนิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น และยูโรโซน จะยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับธนาคารกลางของประเทศต่างๆ โดยอัตราเงินเฟ้อ Headline inflation ของนิวซีแลนด์คาดว่าจะอยู่สูงกว่า 7% (จากเดิม 5.9% เมื่อสามเดือนที่แล้ว) ทำให้เริ่มที่จะมีการพูดถึง “เส้นทางที่จะเสียใจน้อยที่สุด” ที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ได้เคยพูดถึงเมื่อเดือนที่แล้ว โดยถ้าหากเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ อาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอีกในอนาคตได้, ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนที่มีการอ่านค่าครั้งสุดท้าย เท่าที่เห็นจากข้อมูลเบื้องต้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน คาดว่าเงินเฟ้อจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น ถึงแม้ ECB ยังยืนยันว่าสถานการณ์กำลังค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างช้าๆ นอกจากนี้เรายังควรจับตาผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น ที่อาจส่งผลกระทบต่อคู่เงิน USD/JPY ถ้าหากเงินเฟ้อยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Chart

Description automatically generated

นักวิเคราะห์ยังคงมองแนวโน้มของดัชนี PMI เดือนที่แล้วในแง่ร้าย ถึงแม้ว่าการปรับตัวลดลงของดัชนี PMI ยังไม่มากเท่าที่คาดการณ์ไว้ แต่อัตราเงินเฟ้อก็ดูเหมือนจะเริ่มส่งผลกระทบ รวมถึงปัญหาจากห่วงโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในแง่ลบต่อ flash PMI อีกครั้ง เพราะ Eurozone Composite PMI นั้นมักจะอ่อนไหวกับปัจจัยเหล่านี้

การตอบสนองของตลาด: 

  • ในการที่ EUR จะกลับมาเป็นขาขึ้นได้อีกครั้ง ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ จะต้องปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก รวมถึงถ้าหาก PMI ออกมาแย่กว่าที่คาดอาจส่งผลลบต่อ EUR ได้ 
  • NZD จะได้รับแรงหนุนหากตัวเลขเงินเฟ้อของนิวซีแลนด์ปรับตัวดีขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ 
  • ถ้าหากยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักร หรือดัชนี PMI ออกมาค่ำกว่าที่คาดไว้จะส่งผลลบต่อ GBP


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น