รู้จักกับการซื้อขายตราสาร CFD
โดย INFINOX
4 กุมภาพันธ์ 2564
ถึงเวลาอ่าน
0 mins
ทุกสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเริ่มต้นซื้อขายตราสาร CFD ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ CFD ไปจนถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการซื้อขาย
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือเก๋า หรือเป็นเทรดเดอร์มือใหม่ คุณก็น่าจะเคยได้ยินคำว่า ตราสาร CFD กันมาบ้าง โดยตราสาร CFD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่ซับซ้อน ซึ่งมักมาพร้อมกับเลเวอเรจที่สูง ทำให้ตราสารประเภทนี้มีโอกาสทำผลตอบแทนที่สูง แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่สูงมากเช่นกัน
การซื้อขายตราสาร CFD ได้รับการวางรากฐานในตลาดการเงินกระแสหลักมานานกว่า 2 ทศวรรษ ซึ่งตราสารชนิดนี้เป็นหนึ่งในตราสารอนุพันธ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก
ถ้าเช่นนั้นแล้ว อะไรคือตราสาร CFD? และการซื้อขายตราสาร CFD มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? เราจะมาทำความรู้จักกับขั้นตอนการซื้อขายตราสาร CFD ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงวิธีวางกลยุทธการซื้อขาย CFD
อะไรคือตราสาร CFD?
CFD ย่อมาจาก Contract for Difference ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่สินทรัพย์โดยตัวของมันเอง แต่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอนุพันธ์ทางการเงิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการซื้อขายส่วนต่างของราคาสินทรัพย์หนึ่งๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องครอบครองสินทรัพย์นั้นจริงๆ
คุณสมบัติดังกล่าวของ CFD ทำให้ตราสารชนิดนี้มีความใกล้เคียงกับสัญญา Future, Swaps และ Option โดย CFD ช่วยให้คุณสามารถเก็งกำไรในมูลค่าของสินทรัพย์หนึ่งๆโดยที่ไม่ต้องยุ่งยากกับขั้นตอนในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นๆ และตามความหมายของชื่อ CFD (Contract for Difference) เป็นสัญญาที่ตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่าย ที่ต่างก็เก็งการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์นั้นๆ และตกลงที่จะทำสัญญาเพื่อซื้อขายส่วนต่างของราคาสินทรัพย์
และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเน้นย้ำว่ามูลค่าและการเคลื่อนไหวของราคาของสัญญาไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรง แต่ขึ้นอยู่กับมูลค่าที่ตกลงกันระหว่างตัวผู้ซื้อและโบรกเกอร์ ซึ่ง CFD เป็นประเภทสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายสูงมาก เทรดเดอร์สามารถซื้อขายสัญญา CFD ในหุ้น, คริปโทเคอร์เรนซี, อัตราแลกเปลี่ยน, โลหะมีค่า และสินทรัพย์อื่น ๆ อีกมากมาย
ตราสาร CFD ทำงานอย่างไร?
ตราสาร CFD อาจฟังดูซับซ้อนยุ่งยาก แต่หลักการและวิธีการทำกำไรจาก CFD นั้นเรียบง่ายและตรงไปตรงมา สรุปแบบสั้นๆ CFD ก็คือการเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์หนึ่งๆในอนาคตอันใกล้ ซึ่งคุณสามารถทำกำไรได้ทั้งจากการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของมูลค่าสินทรัพย์อ้างอิง ขึ้นอยู่กับประเภทและการเลือกซื้อหรือขายสัญญา CFD ของคุณ
ในการซื้อขาย คุณสามารถเลือกได้ทั้งฝั่ง Long(ซื้อ) หรือฝั่ง Short(ขาย) ซึ่งเราจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง โดยสัญญา CFD ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์ หรือการซื้อขายสินค้าอื่นๆ สัญญา CFD จะเป็นการตกลงกันของ 2 ฝ่าย ในการเก็งทิศทางราคาของสินทรัพย์อ้างอิง เมื่อคุณเลือกทิศทางในการเก็งราคาสินทรัพย์เรียบร้อยแล้ว สัญญาก็จะเริ่มมีผล
สัญญาจะระบุว่าโบรกเกอร์ที่เราทำสัญญาด้วยจะต้องจ่ายหรือได้รับเงินจากเรา ตามมูลค่าส่วนต่างของราคาสินทรัพย์อ้างอิงในสัญญานับจากเวลาที่เราเริ่มเปิดสัญญาจนถึงเวลาที่เราปิดสัญญา ตัวอย่างเช่นคุณได้ทำการเปิดสัญญา CFD ในหุ้น Apple โดยคาดการณ์ไว้ว่าราคาหุ้นดังกล่าวจะปรับตัวขึ้นในระหว่างระยะเวลาของสัญญา ถ้าราคาหุ้น Apple ปรับตัวขึ้นภายในระยะเวลาของสัญญาจริงๆ โบรกเกอร์จะต้องจ่ายเงินให้คุณตามส่วนต่างระหว่างราคาหุ้น Apple ในตอนที่เปิดสัญญา กับราคา ณ ตอนที่คุณปิดสัญญา นั่นคือวิธีการทำงานของตราสาร CFD
รู้จักกับการซื้อขายตราสาร CFD
ตอนนี้คุณก็รู้แล้วว่าตราสาร CFD คืออะไร มีหลักการทำงานยังไงบ้าง ทีนี้ก็ถึงเวลาถามคำถามที่สำคัญที่สุด เราจะซื้อขายทำกำไรจาก CFD ได้อย่างไรบ้าง? ในทางปฏิบัติ การเก็งกำไรใน CFD คือการคาดการณ์ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงในอนาคต ซึ่งคุณจะได้กำไรหรือขาดทุนจากส่วนต่างของราคาในวันที่คุณเปิด และในวันที่คุณปิดสัญญา
อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของ CFD, ตราสาร CFD มักมาพร้อมเลเวอเรจที่สูงมาก นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสที่จะได้กำไรหรือขาดทุนในจำนวนที่สูงกว่าส่วนต่างของราคาสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นไปมาก บางครั้งอาจหลายเท่า เราจะมาดูส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการซื้อขายตราสาร CFD เพื่อให้คุณได้เข้าใจรายละเอียดในทุกขั้นตอน
จะเล่น Long หรือเล่น Short?
อย่างที่เราได้บอกไป ตราสาร CFD มอบทางเลือกให้คุณได้เก็งว่า ราคาสินทรัพย์อ้างอิงจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอนาคต นี่อาจฟังดูเหมือนการขายชอร์ตในตลาดหุ้นซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องห้ามในหลายตลาด แต่ความจริงแล้ว CFD และการขายชอร์ตหุ้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก นั่นเพราะ CFD ไม่มีผลใดๆต่อตัวสินทรัพย์ รวมถึงไม่จำเป็นต้องยุ่งเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงจริงๆ
ในการซื้อขาย CFD คุณจะมีโพสิชั่น 2 แบบให้เลือกเปิด นั่นคือ Long และ Short, การเปิด Long คือการที่คุณเชื่อว่าราคาสินทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากคุณต้องจะ Long ให้คุณเลือกเปิด "buy order" บนสัญญา CFD ถ้าหากราคาสินทรัพย์อ้างอิงปรับตัวสูงขึ้นในระหว่างสัญญา คุณก็สามารถส่งคำสั่ง sell เพื่อปิดสัญญาและทำกำไรเข้ากระเป๋า
สำหรับในฝั่ง Short การเลือกเปิดสัญญาในฝั่งนี้หมายถึงการที่คุณเชื่อว่าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวลดลงในเร็วๆนี้ คุณสามารถส่งคำสั่ง "sell order" พร้อมเฝ้าดูราคาสินทรัพย์อ้างอิงที่ปรับตัวลดลงตามที่คุณได้คาดการณ์ไว้
ทำไมเลเวอเรจถึงมีความสำคัญ?
ตราสาร CFD เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่มีเลเวอเรจสูงที่สุดในตลาดการเงินทุกวันนี้ ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียสำหรับเทรดเดอร์ในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่ที่ชื่นชอบการเทรดแบบ high risks, high rewards ซึ่งการซื้อขายโดยใช้เลเวอเรจจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถทำการซื้อขายโดยใช้สถานะที่ใหญ่มากขึ้น ทำให้ได้กำไรหรือขาดทุนมากขึ้นกว่าการซื้อขายโดยใช้เงินสดเพียงอย่างเดียว
ยกตัวอย่างเช่น คุณจะซื้อสินทรัพย์ตัวหนึ่งโดยใช้มาร์จิน 10% หมายความว่าหากคุณมีเงินสด 1,000 บาทในบัญชืซื้อขาย คุณสามารถที่จะ "ซื้อ" สินทรัพย์ดังกล่าวได้จำนวนมากถึง 10,000 บาท (10 เท่า) ซึ่งเป็นปริมานที่มากขึ้นกว่าการซื้อโดยใช้เงินสดที่คุณมีในบัญชีซื้อขาย
ซึ่งผลจากการใช้เลเวอเรจ ทำให้การขยับของราคาสินทรัพย์อ้างอิงเพียงเล็กน้อย สามารถทำให้คุณได้กำไรหรือขาดทุนก้อนโตขึ้นเป็นทวีคูณตามระดับของมาร์จินที่คุณเลือกใช้
นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเน้นย้ำกับคุณ ด้วยการใช้เลเวอเรจ คุณสามารถที่จะได้กำไรหรือขาดทุนมากขึ้นจนเกินกว่าจำนวนเงินที่คุณมีในบัญชีซื้อขาย ทางโบรกเกอร์สามารถแจ้งให้คุณฝากเงินเพิ่มเข้าไปในบัญชีซื้อขายเพื่อเป็นหลักประกัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้เมื่อราคาสินทรัพย์อ้างอิงเคลื่อนไหวไปคนละทางกับที่คุณเก็งไว้ และคุณกำลังจะประสบกับตัวเลขการขาดทุนมากเกินกว่าจำนวนเงินในบัญชีซื้อขายของคุุณจะรับไหว
สเปรดก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ
ค่าสเปรดในการซื้อขาย CFD หมายถึงความแตกต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย โดยคุณสามารถเปิดสถานะได้ตามราคา Quote buy บนแพลตฟอร์มการซื้อขายของโบรกเกอร์ และคุณสามารถปิดสถานะเพื่อทำกำไรหรือหยุดการขาดทุนได้ตามราคา Quote sell หากคุณต้องการจะซื้อขาย CFD ค่าสเปรดเป็นสิ่งที่คุณจะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ นั่นเป็นเหตุผลที่คุณควรจะซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องเพียงพอ เพราะจะมีค่าสเปรดที่แคบกว่าตลาดที่มีสภาพคล่องต่ำ นั่นทำให้คุณได้กำไรสูงขึ้น หรืออาจขาดทุนน้อยลง
สภาพคล่อง: ยิ่งมาก ยิ่งดี
ผู้ออกตราสาร CFD หรือโบรกเกอร์จะเป็นผู้ที่คอยเติมสภาพคล่องให้กับการซื้อขายของคุณ เนื่องจากคุณไม่ได้ซื้อขายบนตลาดหรือบนตัวสินทรัพย์โดยตรง แต่โดยทั่วไปแล้ว CFD มักมีสภาพคล่องที่สูงกว่าตราสารอนุพันธ์ทางการเงินแบบอื่นๆ
สภาพคล่องของตลาดยังส่งผลต่อการซื้อขายในแง่ที่ว่าคำสั่งซื้อขายจะถูกจับคู่ได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการซื้อขาย CFD ที่การขยับของราคาเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำกำไรหรือทำให้ขาดทุนก้อนใหญ่ได้ ในตลาดที่สภาพคล่องต่ำ คุณจะทำการขายหรือปิดสถานะได้ยากยิ่งขึ้น
สำหรับตราสาร CFD สภาพคล่องถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง ถ้าหากสินทรัพย์อ้างอิงที่คุณเลือกมีการซื้อขายเกิดขึ้นไม่เพียงพอ อาจทำให้ CFD ขาดสภาพคล่องได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นอันตรายอย่างมาก เพราะผู้ออก CFD สามารถปิดสัญญาของคุณในราคาที่คุณไม่พึงประสงค์ หรือเรียกร้องให้คุณวางหลักประกันเพิ่มเติมสำหรับการเปิดสัญญาได้ นั่นเป็นเหตุผลที่สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น คู่เงินที่มีความนิยมซื้อขายกันมากๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับการซื้อขาย CFD
ตัวอย่างการซื้อขายตราสาร CFD
เรามาจำลองการซื้อขายตราสาร CFD ขึ้นมาซักตัว สมมุติว่าคุณเห็นหุ้น HSBC มีราคาซื้ออยู่ที่ £27.60, มีราคาขายอยู่ที่ £27.59 และคุณคาดว่าราคาหุ้น HSBC จะพุ่งสูงขึ้นในอนาคต ดังนั้น คุณจึงเลือกฝั่ง Long พร้อมเดิมพันว่าราคา HSBC จะอยู่สูงกว่านี้ในอนาคต
คุณสามารถใช้เลเวอเรจเพื่อซื้อ CFD ในหุ้น HSBC ได้ถึง 2,000 หุ้น นั่นหมายความว่าคุณไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าหุ้นเต็มจำนวน เนื่องจากคุณซื้อขายโดยใช้มาร์จินเข้าช่วย ซึ่ง CFD เป็นตราสารที่มีเลเวอเรจ หมายความว่าคุณสามารถวางเงินขั้นต่ำเพียงบางส่วน ตามเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดไว้ เช่น หาก HSBC มีมาร์จิน 5% หมายความว่าคุณสามารถวางเงินเพียงแค่ 5% ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดในสัญญาเพื่อซื้อ CFD
ราคาหุ้น HSBC ที่หุ้นละ £27.60 จำนวน 2,000 หุ้นมีมูลค่ารวมทั้งหมด £55,200 และ 5% ของ £55,200 ก็คือ £2,760 นั่นคือจำนวนเงินทั้งหมดที่คุณจะต้องจ่าย ถ้าหากราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น £2 ในระหว่างระยะเวลาของสัญญา คุณจะได้กำไร 2 x 2,000 = 4,000£ แต่ถ้าหากราคาหุ้นไม่เป็นไปตามที่คุณคิด HSBC ปรับตัวลดลง £1 แทน นั่นคือคุณจะขาดทุน 1 x 2,000 = £2,000
จุดเด่นและข้อควรพิจารณาของตราสาร CFD
จุุดเด่น
- ตราสาร CFD ช่วยให้คุณสามารถถือสถานะที่ตรงกันข้ามกับพอร์ทหลักของคุณ ทำให้คุณสามารถวางแผน hedge เพื่อรับความผันผวนได้ดีขึ้น
- ตราสาร CFD ช่วยให้คุณสามารถซื้อขายสินทรัพย์ได้โดยไม่ต้องกังวลกับข้อกำหนดยุ่งยากต่าง ๆ ของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุน รวมถึงระยะเวลาการส่งมอบหุ้นในกรณีของการซื้อขายหุ้นทั่วไป
- การใช้เลเวอเรจที่สูงช่วยให้คุณซื้อขายได้ด้วยสถานะที่ใหญ่มากเกินกว่าการซื้อด้วยเงินสดที่คุณมีเพียงอย่างเดียว
- ตราสาร CFD ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ใดๆ ทำให้คุณไม่ต้องยุ่งยากกับขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์หรือการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ต่างๆ
ข้อควรพิจารณา
- การใช้เลเวอเรจที่สูงหมายความว่าคุณมีโอกาสขาดทุนอย่างหนัก หากราคาสินทรัพย์อ้างอิงไม่เป็นไปตามที่คุณคาดการณ์
- โบรกเกอร์หลายแห่งคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่สูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำกำไรของคุณ
- CFD ไม่ใช่ตัวสินทรัพย์ นั่นหมายความว่าคุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือการลงทุนใดๆทั้งสิ้น คุณเพียงแค่เก็งกำไรจากราคาสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีไม่เพียงพอในตลาด CFD บางแห่ง อาจส่งผลให้คุณประสบกับการขาดทุนได้
วิธีส่งคำสั่งซื้อขาย CFD
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ CFD เป็นที่นิยมอย่างมาก คือการซื้อขาย CFD นั้นง่ายและตรงไปตรงมา และนี่คือขั้นตอนในการส่งคำสั่งซื้อขาย
- เปิดบัญชีซื้อขายออนไลน์กับโบรกเกอร์หรือแพลตฟอร์มการซื้อขายที่คุณต้องการ
- เลือกตลาดสำหรับสินค้าอ้างอิง เช่น Forex หรือตลาดหุ้น
- ทำการศึกษาและวิเคราะห์สินทรัพย์อ้างอิง หรือตลาดที่คุณสนใจ
- เลือกว่าจะอยู่ฝั่ง "ซื้อ" หรือ "ขาย"
- กำหนดจุด stop loss ซึ่งจะเป็นจุดที่คุณจะทำการปิดสถานะหนีออกมาหากเกิดการขาดทุนถึงจุดที่กำหนด
- ติดตามการเทรดของคุณอยู่เสมอ ปิดสถานะทำกำไรเมื่อคุณเห็นสมควร โดยกด "close trade" หรือ "close position"
การกำกับดูแลตราสาร CFD
หนึ่งในคุณลักษณะสำคัญของ CFD ก็คือการกำกับดูแลที่ไม่เข้มงวดนัก โดยเฉพาะเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับหุ้น, พันธบัตร หรือแม้แต่กับ Future ตราสาร CFD มีการกำหนดจำนวนวงเงินขั้นต่ำในบัญชีที่ไม่สูง รวมถึงข้อกำหนดต่างๆที่กำหนดจำนวนเงินหลักประกันในบัญชีของโบรกเกอร์เพียงไม่กี่ข้อ
ข้อกำหนดของหน่วยงาน Financial Conduct Authority (FCA) ของสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน มีเป้าหมายที่จะลดความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากจำนวนเงินในบัญชีของเทรดเดอร์เหลือน้อยกว่า 50% ของมาร์จินที่กำหนดสำหรับการเปิดสถานะของ CFD โบรกเกอร์จะต้องปิดบัญชีนั้นทันที รวมถึงการกำหนดเลเวอเรจให้ไม่เกิน 30:1
เลือกโบรกเกอร์ CFD ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุน เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว CFD ส่วนใหญ่จากทั่วโลกไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานใดๆ ทำให้ในปัจจุบันตราสาร CFD ถูกแบนในสหรัฐอเมริกา นั่นหมายความว่าเทรดเดอร์ในสหรัฐฯ ไม่สามารถซื้อขายตราสาร CFD ได้ในขณะนี้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CFD
อะไรคือแพลตฟอร์มการซื้อขาย CFD ที่ดีที่สุด?
ขอให้คุณซื้อขาย CFD กับแพลตฟอร์มการซื้อขายที่เชื่อถือได้และได้รับการจัดอันดับที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแพลตฟอร์มการซื้อขาย CFD ที่ดีที่สุดในตลาดตอนนี้ ได้แก่
- INFINOX Metatrader 4 (MT4) และ Metatrader 5 (MT5)
- The eToro CFD trading platform
- Interactive Brokers
- IG
- XTB
ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แพลตฟอร์มการซื้อขายหรือโบรกเกอร์?
แพลตฟอร์มการซื้อขาย CFD มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่อาจแตกต่างกันอย่างมากตามแต่ละโบรกเกอร์ ดังนั้นคุณควรเลือกแพลตฟอร์มการซื้อขายอย่างรอบคอบ ซึ่งแพลตฟอร์มส่วนใหญ่จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการถือสถานะข้ามคืนหากคุณถือสถานะนานกว่าหนึ่งวัน รวมถึงบางแห่งอาจมีค่าธรรมเนียมผู้ดูแลระบบและค่าธรรมเนียมการฝากเงินด้วย ดังนั้นคุณควรอ่านรายละเอียดทั้งหมดให้ชัดเจน
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรเปิดสถานะ CFD ในฝั่ง Long หรือ Short?
พูดอย่างง่ายๆ ไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้ 100% ดังนั้น ก่อนจะเปิดสถานะใน CFD ทุกครั้ง คุณควรทำการบ้านเกี่ยวกับตลาดและสินทรัพย์ที่คุณสนใจอย่างละเอียดเสมอ มีแหล่งข้อมูลฟรี เช่น Bloomberg, The Financial Times และ Wall Street Journal สามารถช่วยให้คุณเห็นภาพสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น
เราสามารถจำกัดความเสี่ยงในการซื้อขาย CFD ได้อย่างไรบ้าง
ดังที่เราได้พูดเสมอว่าการซื้อขาย CFD นั้นมีความเสี่ยงที่สูง ดังนั้นคุณจึงควรทำทุกอย่างเพื่อลดความเสี่ยงลงให้ต่ำที่สุด วิธีง่ายๆ ในการทำแบบนี้ ได้แก่
- มีการกำหนดจุด Stop loss ทุกครั้งที่ทำการซื้อขาย เพื่อควบคุมการขาดทุนไม่ให้มากจนเกินไป
- เลือกซื้อขายกับแพลตฟอร์มหรือโบรกเกอร์ที่มีการกำกับดูแลและเชื่อถือได้ เช่น INFINOX
- ควบคุมการใช้เลเวอเรจด้วยความระมัดระวังเสมอ ห้ามมองว่าเลเวอเรจเป็นเงินฟรีที่ได้มาง่ายๆเด็ดขาด
- เลือกซื้อขายบนตลาดที่มีสภาพคล่องสูง เพื่อป้องกันไม่ให้คุณติดสถานะแล้วออกไม่ได้
การซื้อขาย CFD เป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น มีการซื้อขายที่รวดเร็วพร้อมกับเรื่องที่ต้องเรียนรู้มากมาย ถ้าตลาดเป็นไปในทิศทางที่คุณคาดไว้ คุณก็จะได้กำไรก้อนโต แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้คุณคำนึงถึงความเสี่ยงในการซื้อขาย CFD อยู่เสมอ และเข้าซื้อขายด้วยความรอบคอบรัดกุม
*บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นๆ, INFINOX ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำในการลงทุน ไม่มีความเห็นใดในเนื้อหาที่ถือว่าเป็นคำแนะนำจาก INFINOX หรือผู้เขียนบทความที่ถือว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุน, การทำธุรกรรมหรือการลงทุนเฉพาะใด ๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น